กลวิธีการเป่าปี่ในคลอร้องเพลงเขมรปี่แก้วน้อย ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)

ผู้แต่ง

  • ยศพล คมขํา คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กลวิธีการเป่าปี่ในคลอร้อง, ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ), เพลงเขมรปี่แก้วน้อย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอลักษณะการใช้กลวิธีพิเศษการเป่าปี่ในคลอร้องของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ลักษณะของการเป่าปี่ในคลอร้องนี้เป็นวิธีการเป่าอีกรูปแบบหนึ่ง จากลักษณะของการคลอร้องแบบทั่วไปที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายคือ ซอสามสาย ซออู้ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าคือ ขลุ่ย ปี่ใน ปี่มอญ และปี่ชวา การเป่าปี่ในคลอร้องจะพบเห็นได้จากการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี ซึ่งมีการเป่าปี่ในคลอร้องทั้งหมด 9 ครั้ง เพลงเขมรปี่แก้วน้อยเป็นเพลงหนึ่งที่อยู่ในการคลอร้องทั้ง 9 ครั้งด้วย เพลงเขมรปี่แก้วน้อยเป็นเพลงหน้าทับปรบไก่อัตราจังหวะสามชั้น ถูกตัดมาจากเพลงเขมรปี่แก้ว สามชั้น กำหนดใช้กลุ่มเสียงทางเพียงออล่าง (ฟซลxดรx) ซึ่งเป็นกลุ่มเสียงที่มีความยากในในการบรรเลง ผู้บรรเลงต้องผ่านการฝึกฝนเป็นอย่างดี พบการใช้กลวิธีพิเศษที่สำคัญที่ใช้มากที่สุดจำนวน 3 กลวิธี คือ การควงเสียง การสะบัด การครั่นลม กลวิธีพิเศษทั้ง 3 นี้จะช่วยให้ทำนองเพลงมีความนุ่มนวลมากยิ่งขึ้นและทำนองร้องมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย เป็นเอกลักษณ์ที่ควรค่าแก่การศึกษาและเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางด้านดนตรีไทยสืบไปในอนาคต

References

กองทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและ ประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (ส.ย.ช.). (2540). คำบรรยายวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยโดยนายบุญธรรม ตราโมท. กรุงเทพมหานคร: ศิลปสนองการพิมพ์.

มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม.

พิชิต ชัยเสรี. (2559). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยศพล คมขำ. (2567). การถ่ายทอดเพลงสระหม่าใหญ่ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ). วารสารดนตรีและการแสดง, 10(1), 115-125.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติเพลงเกร็ดและเพลงละครร้อง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: หจก. ซี.วาย. ซิซเทิม พรินติ้ง.

ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). พระอภัยมณี เล่ม 1 ของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) หนังสือวรรณคดีอมตะของไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ไผ่ มีเดีย เซ็นเตอร์ จำกัด.

สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2538). เกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาและวิชาชีพดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ประกายพรึก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024