ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทชาบูของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Main Article Content

ศิรชัช มีสง่า
ฉันทนา ปาปัดถา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการตัดสินใจ ส่วนประสมทางการตลาด และพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทชาบูของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทชาบู และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทชาบู ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 80 คน โดยใช้การคำนวณด้วยโปรแกรม G*Power ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และด้วยสมการถดถอยพหุคูณ ผลงานวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีกระบวนการตัดสินใจบริโภคอาหารประเภทชาบู อยู่ในระดับมาก 2) ส่วนประสมทางการตลาดของอาหารประเภทชาบู อยู่ในระดับมาก และ 3) พฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทชาบู อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) นักศึกษาที่มีเพศ ระดับชั้น และรายได้ต่างกันมีการเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทชาบูไม่แตกต่างกัน และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทชาบูของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 2 ปัจจัย ได้แก่ ด้านกระบวนการตัดสินใจ และด้านการส่งเสริมการตลาด

Article Details

How to Cite
มีสง่า ศ., & ปาปัดถา ฉ. . (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทชาบูของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารบริหารธุรกิจและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโยลีราชมงคลพระนคร, 2(2), 50–60. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/RMUTP_JBI/article/view/269953
บท
บทความวิจัย

References

กรรญา เสริมศักดิ์ศศิธร. (2563). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ชาบูชิ ของพนักงานในเขตนิคมอมตะนคร ชลบุรี. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-8/6114154027.pdf

ขัตติยา ชัชวาลพาณิชย์ ปัญญาภรณ์ ผลเกิด อรรถกร จัตุกูล และอาทิตยา ลาวงศ. (2561). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านชาบูในจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

งานทะเบียนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. (2566). สถิตินักศึกษาปีการศึกษา 2566. งานทะเบียนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ณัฐกานต์ เตียววัฒนานนท์. (2561). การรับรู้คุณค่าตราสินค้า ความไว้วางใจ และคุณภาพการบริการ ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคร้านอาหารประเภทชาบูในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นัยยุณี คล้ายบุตร. (2565). การตัดสินใจในการเลือกใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ชาบูของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat18/6314060095.pdf

ปรียานุช คูสกุล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารร้านยูแอนด์ไอพรีเมี่ยมสุกี้บุฟเฟ่ต์สาขาศูนย์การค้าเมกาบางนา. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214154536.pdf

มธุรส พลพวก และ ธรรมวิมล สุขเสริม. (2565). ความต้องการของผู้บริโภคที่จะเข้าใช้บริการร้านชาบูอินดี้ในอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(8) สิงหาคม, หน้า 441-456.

วรัญญา ลีลาวดี. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ของผู้บริโภคที่ถนนสีลม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

สุพรรษา ทรงวัชราภรณ์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการบริโภคร้านอาหารสุกี้ชาบูแบบไทยประเภทบุฟเฟต์ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและนนทบุรี.ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.