การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจสมัครเรียน ของนักศึกษาอาชีวศึกษา : กรณีศึกษาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจสมัครเรียนของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา กรณีศึกษาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง 2) เพื่อนำผลวิจัยเป็นข้อเสนอแนะแนวทางการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของสถานศึกษากรณีศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่สมัครเรียนผ่านการประชาสัมพันธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ ในปีการศึกษา 2565 เฉพาะระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 1 ที่สมัครเรียนออนไลน์ในจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการใช้แบบสอบถามในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ และใช้สถิติไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวมเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดออนไลน์ให้ความสำคัญกับความครบถ้วนของข้อมูล ร้อยละ 87.67 ความหลากหลายของการใช้สื่อออนไลน์ ร้อยละ 83.00 และการตอบคำถามแบบออนไลน์อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 82.78 ตามลำดับ ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับการตัดสินใจสมัครเรียนของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ร้อยละ 80.93 พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักศึกษาพึงพอใจกับสถานที่ตั้งของวิทยาลัยฯ และนักศึกษาพึงพอใจกับบุคลากรของวิทยาลัยฯ ร้อยละ 83.67 และความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับการตัดสินใจสมัครเรียนของนักศึกษาอาชีวศึกษา พบว่า = (4, n = 300) = 5.056, p = 0.281
ค่า p มากกว่า .05 ไม่มีหลักฐานเพียงพอ ที่จะยอมรับว่าการสื่อสารการตลาดออนไลน์กับการตัดสินใจสมัครเรียนของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษามีความสัมพันธ์ทางสถิติค่า p>.05 ทั้งนี้เนื่องจากชื่อเสียงและคุณภาพของวิทยาลัยกรณีศึกษาสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักศึกษาและผู้ปกครอง ก่อให้เกิดความสนใจก่อนจะทำการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อต้องการทราบข้อมูลที่ครบถ้วน ทำให้นักศึกษาและผู้ปกครองตัดสินใจสมัครเรียน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความแต่เพียงผู้เดียว โดยกองบรรณาธิการวารสารจะไม่มีส่วนรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นในทุกกรณี
References
คอนเทนท์ชิฟู. (2565). Social Media Marketing คืออะไร. www.contentshifu.com. https://golink.icu/j4KSsVc
ชนิษฐา สายแสง. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ธุรกิจบ้านสำเร็จรูปในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. www.ir.mju.ac.th. https://golink.icu/9Lp2Tpd
ซิสส์39. (2566). Online Marketing กับ Offline Marketing แตกต่างกันอย่างไร. www.sits39.com. https://golink.icu/WIHhYTk
ณัฏฐนนธ์ สกุลพงศ์ชัย. (2564). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ของอาหารคลีนบนโซเชียลคอมเมิร์ซแพลตฟอร์ม. สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล. www.archive.cm.mahidol.ac.th. https://golink.icu/iH7wVpY
ทัศนีย์ เทียมถนอม. (2564). วิถีชีวิตใหม่กับสื่อสารการตลาดดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 298-304.
ธนชาติ นุ่มนนท์. (2564, 1 มกราคม). ปี 2563 สู่ ปี 2564 ปีเปลี่ยนแปลง สู่ สังคมดิจิทัล. www.bangkokbiznews.com. https://www.bangkokbiznews.com/columnist/126665
บางกอกบางกอก ด็อต เน็ต. (2565). social media marketing คืออะไร มีอะไรบ้าง. www.bangkokbangkok.net. https://golink.icu/NTkXxDM
ปาริชาติ บัวเจริญ, นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล, ปวันรัตน์ บัวเจริญ. (2562). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร ราชมงคลล้านนา, 7(1), 1-14.
ปุณิกา ชันจันทร์. (2563). การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง. www.mmm.ru.ac.th. https://golink.icu/insZNDs
วิทยาลัยกรณีศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตบางกอกใหญ่ (2567). จุดแข็งของวิทยาลัย. สืบค้นจาก งานประชาสัมพันธ์.
วิทยาลัยกรณีศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตบางกอกใหญ่ (2567). ยอดรวมผู้สมัครเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2564. สืบค้นจาก แผนกทะเบียน.
วิทยาลัยกรณีศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตบางกอกใหญ่ (2565). เลขทะเบียนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565. สืบค้นจาก แผนกทะเบียน.
ศิชดา ภาจิตรภิรมย์, อภิรัตน์ กังสดาพร, ชนัฐนันท์ ม่วงวิเชียร. (2565). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด และช่องทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเสริมอาหารของคนต่างเจนเนอเรชั่น. วารสารสมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยรังสิต, 27(4), 68-85.
สมลักษณ์ วงษ์สนอง. (2555). การประเมินนโยบายการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันไดขององค์การบริหารส่วนตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. www.etheses.aru.ac.th. https://golink.icu/IINx3y3
อาอุน ไทย. (2564, 2 สิงหาคม). การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คืออะไร มีช่องทางการทำอย่างไร. aun-thai.co.th. https://golink.icu/WDqddHb
เอริสา อูจิอิเอะ. (2564). การสื่อสารการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ตราทัศนคติและความเชื่อถือไว้วางใจในตราชุดชั้นในของสตรีในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. www.dspace.bu.ac.th. https://golink.icu/I9pvy67
Augustine, B. T. (2020). Effectiveness of online advertisement for cosmetic products. IJRAR, 7(1), 949-957.
Bhakar, Shailja and Bhakar, Shilpa and Kushwaha, Keshav and Akansha, Akansha. (2019). The Effectiveness of E-Advertisement towards Customer Purchase Intention: Indian Perspective (January 6, 2019). Proceedings of 10th International Conference on Digital Strategies for Organizational Success, 10 Pages Posted: 19 Jan 2019. 729-738. Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=3315066.
Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. Harper & Row, New York.
Danaher, P. J. Danaher, T. S. Smith, S. M. Loaiza-Maya, R. (2023). Advertising Effectiveness for Multiple Retailer-Brands in a Multimedia and Multichannel Environment. American Marketing Association.
Duffett, R. (2017). Influence of social media marketing communications on young consumers’ attitudes. Young Consumers, 18(1), 19-39.
Maria, S., Pusriadi, T., Hakim, Y. P., & Darma, D. C. (2019). The Effect of Social Media Marketing, Word of Mouth, and Effectiveness of Advertising on Brand Awareness and Intention to Buy. Jurnal Manajemen Indonesia, 19(2), 107-122.
Yamane, Taro. (1976). Statistic: An introduction analysis(2nded). New York: Harper & Row.