การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไซรัป ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไซรัปของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เคยบริโภคไซรัป ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตามสะดวก (Convenience Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์วิธีทดสอบความแตกต่าง (Independent t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance (ANOVA) : (F-Test) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 20,001-30,000 บาท ตลอดจนผลการวิจัยยังพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไซรัปที่ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาด มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไซรัปของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เนื่องมาจากผู้บริโภคได้รับทราบข่าวสารการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ไซรัปผ่านสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการจัดแสดงโชว์สินค้าในงานสำคัญต่าง ๆ และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความแต่เพียงผู้เดียว โดยกองบรรณาธิการวารสารจะไม่มีส่วนรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นในทุกกรณี
References
กระทรวงมหาดไทย. (2567). สถิติประชากรกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สืบค้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 จากสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (dopa.go.th)
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล. (2567) สืบค้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.ocsb.go.th/
กุลธิดา โล่ห์เงิน. (2557) ผลของเอนไซม์เพคติเนสและเซลลูเลสต่อการสกัดน้ำซังขนุนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไซรัป. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาคหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์). คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ชนินันท์ พิชญ์เสถียร์. (2559) การรับรู้การสื่อสารทางการตลาด และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อ
น้ำเชื่อมแต่งกลิ่นมิตเต้ไซรัป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ : มหาวิทยาลัยมหิดล
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และศุภร เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. (Marketing Management) กรุงเทพ ฯ : บริษัทธรรมสาร, 126.
ปัณณวิชญ์ พยุหวรรธนะ (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อวิปปิ้ง. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพล หิรัญเรือง (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเฟสบุ๊คชาวไทย ต่อการเผยแพร่ข้อมูลทางการท่องเที่ยวผ่านเฟสบุ๊คของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดขอนแก่น. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะวิทยาการจัดการ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กนกกานต์ บุญประสพ (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์
ของลูกค้ากลุ่มเจนเนอเรชั่น วาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจ) คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล. (2565). สืบค้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 จาก สถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Innovation and Governance Institute : DIGI)-สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA
ระบบสารสนเทศงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (2548). สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นเมื่อ
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 https://riss.rmutsv.ac.th
Researcher Thailand (2022). Techniques for determining sample size (Sample Size). Retrieved September 8, 2024. From https://researcherthailand.co.th
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). ทิศทางตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกฮอล์ ปี 66. สืบค้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 จาก
https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Non-Alcohol-Drink- CIS3394-FB-04-04-2023.aspx
Aitor Ameztegui, Anne Blondlot, Antoine Plouffe, Daniel Houle, Lisa Chase, Simon Legault & Timothy
D. Perkins. (2019, April). Perceptions of U.S. and Canadian maple syrup producers toward climate change, its impacts and potential adaptation measures. PLOS ONE, 14(4), Received: December 7, 2018, from https://doi.org/10.1371/journal.pone.0215511/journal PLOS ONE
Chythia Sass, (2021). Is Maple Syrup Healthy?. Retrieved 28 May, 2024,
from https://www.gourmetandcuisine.com/stories/detail/1342
E. Jerome McCarthy & William D. Perreault, Jr, (2002). Basic Marketing: A Managerial Approach. New York : McGraw-Hill, (4thed.). 48-2.
Gourmet Cuisine, (2564). เมเปิ้ลไซรัป หวานแบบนี้แต่ก็มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพเหมือนกัน. สืบค้นวันที่
มิถุนายน 2567 จาก https://www.gourmetandcuisine.com/stories/detail/1342
Philip Kotler & Kevin Lane Keller (2009). Marketing Management. New Jersey : Prentice Hall,
(13thed.). 182-204
Cochran, W.G. 1953. Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons, Inc.