ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์จัดส่ง พนักงานดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พลอยทิพย์ วงเวียน
ณรงค์ ทมเจริญ

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์จัดส่งพนักงานดูแลผู้สูงอายุ และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์จัดส่งพนักงานดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการและคาดว่ามีโอกาสใช้บริการศูนย์จัดส่งพนักงานดูแลผู้สูงอายุในอนาคต ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 425 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยการใช้สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA (F-Test) และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


         ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการและคาดว่ามีโอกาสใช้บริการศูนย์จัดส่งพนักงานดูแลผู้สูงอายุในอนาคต ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีอายุและรายได้เฉลี่ยที่ต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์จัดส่งพนักงานดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านบุคลากรและด้านกระบวนการ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์จัดส่งพนักงานดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
วงเวียน พ., & ทมเจริญ ณ. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์จัดส่ง พนักงานดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโยลีราชมงคลพระนคร, 3(2), 25–37. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/RMUTP_JBI/article/view/276632
บท
บทความวิจัย

References

กานตา ถิ่นทัพไทย. (2560). กลยุทธ์การสร้างความพึงพอใจในการใช้บริการรับฝากสัตว์เลี้ยงของ ผู้ใช้บริการ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU DIGITAL COLLECTIONS

กอบกาญจน์ เหรียญทอง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

จุฑามณี สายยืด (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สถานบริบาลผู้สูงอายุในเขตประเวศ. บทความวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์ (2548). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฐพร สกุลสุรียเดช. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเข้าพักโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Retirement Community) ในเจเนอเรชันเอ็กซ์ และเบบี้บูมเมอร์. สารนิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต มหาลัยมหิดล.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ธำรงศักดิ์ ดำรงศิริ. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารปรัชญาปริทัศน์ 28(1), 51-58.

ภัสสร พัฒนะพรหมมาส. (2563). แผนธุรกิจศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Be Care Nursing Home. การค้นคว้าอิสระ, การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

บุศรา อรัญญิก. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการดูแลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปราโมทย์ ประสาทกุล (2543). ประชากรศาสตร์ สารัตถศึกษาเรื่องประชากรมนุษย์.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

สันทัด เสริมศรี (2541) ประชากรศาสตร์ทางสังคม.พิมพ์ครั้งที่สอง.กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพานิช.

สุภาวดี จารียานุกูล (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุ ของ บริษัทบางกอกเฮลท์แคร์ เซอร์วิส จํากัด. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2539). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนา

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (14th Global ed.). Prentice-Hall.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Kotler,P. and Keller,K. (2016). Marketing Management (15th ed.). Pearson Education.

Schoch T. (2012). Turning the Ship Around with a Four-Generation Crew. Information Management Journal, 46, 25-29.

United nations (2023). Leaving No One Behind In An Ageing World. World Social Report 2023. Department of Economic and Social Affairs.