สถานการณ์การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพของคนไม่มีสัญชาติไทยและข้อเสนอแนะ

ผู้แต่ง

  • ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์, อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200, อีเมล์: liu.darunee@gmai.com

คำสำคัญ:

หลักประกันสุขภาพสำหรับคนไม่มีสัญชาติไทย, คนไร้รัฐไร้สัญชาติ, ผู้ลี้ภัย

บทคัดย่อ

แม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายที่เปิดให้คนไม่มีสัญชาติไทยเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ (Universal Health Coverage: UHC) รวมถึงมีนโยบายขายหลักประกันสุขภาพให้คนไม่มีสัญชาติไทย แต่ผลการศึกษาวิจัยพบว่ายังมีคนที่ตกหล่นระบบหลักประกันสุขภาพดังกล่าวอยู่ และมีข้อเสนอ  เชิงนโยบายว่า ควรมีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่อรับรองสิทธิในการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพให้แก่บุคคลโดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสัญชาติ การเข้าเมืองฯ รวมถึงมีช่องทางให้บุคคลสามารถซื้อหลักประกันสุขภาพได้ โดยราคาสำหรับการเข้าถึง UHC ควรพิจารณาจาก “จุดเกาะเกี่ยว (genuine link) ของบุคคลกับประเทศไทย งานวิจัยได้เสนอหนทางไปสู่เป้าหมายดังกล่าวไว้สามแนวทางคือ แนวทางที่หนึ่ง จะมีสองกองทุนที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ยึดโยงหลักประกันสุขภาพในการทำงานกับกองทุนประกันสังคม ส่วนประกันสุขภาพที่ไม่เกี่ยวกับการทำงานเป็นอำนาจหน้าที่รับผิดชอบของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพสำหรับคน  ไม่มีสัญชาติไทย” และต้องมีกฎหมายรองรับอำนาจ แนวทางที่สอง กองทุนประกันสังคมถ่ายโอนภารกิจมายัง “กองทุนหลักประกันสุขภาพสำหรับคนไม่มีสัญชาติไทย” ให้อยู่ในความดูแลของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ เพื่อเป็นการเสริมความเข้มแข็งของการคลังสุขภาพให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น และแนวทางที่สาม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้ดูแลกองทุนหลักประกันสุขภาพทั้งสำหรับคนสัญชาติไทยและผู้ไม่มีสัญชาติไทย โดยให้มีกฎหมายรับรองอำนาจหน้าที่

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการดำเนินงานประกันสุขภาพคนต่างด้าวและแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2563. สืบค้นวันที่ 10 เมษายน 2565, จาก https://dhes.moph.go.th/?p=9173

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การสาธารณสุขไทย 2559-2560. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์การพิมพ์.

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประกันสุขภาพของประชากรต่างด้าว ปีงบประมาณ 2562-2563. สืบค้นวันที่ 10 เมษาน 2565, จาก https://moph.cc/WL3Ai-h6L

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล, ชุติ งามอุรุเลิศ, ลืนหอม สายฟ้า และสรินยา กิจประยูร (2561). Nationality Procedures in Thailand: Bottlenecks Analysis and Recommendations in Addressing Implementation Challenges (รายงานผลการวิจัย). United Nations High Commissioner for Refugees-Thailand.

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2559). หลังข้ามเส้นพรมแดนสถานะตามกฎหมายของคนย้ายถิ่น (กรณีชนกลุ่มน้อย). วารสารนิติสังคมศาสตร์, 9 (2), 170-204.

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2562). ในปีที่ 47 ของพลเมืองโดยหลักดินแดนที่ถูกทำให้เป็นอื่น, วารสารนิติสังคมศาสตร์, 12 (2), 57-175.

ระพีพงศ์ และคณะ, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และคณะ.(2561). การจัดระบบและคาดการณ์งบประมาณเพื่อชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินและภาวะวิกฤตสำหรับบุคลต่างด้าวที่หล่นจากการประกันสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ และคณะ. (2564). กองทุนสุขภาพบุคคลผู้มีปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิ. กรุงเทพมหานคร: กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

UN Committee on Economic, Social, and Cultural Rights. General Comment No. 20 on Non-discrimination in economic, Social and Cultural Rights (Art. 2, para. 2, of the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights) E/C.12/GC/20, 2 July 2009. Retrieved April 8, 2020, from https://www.refworld.org/docid/4a60961f2.html

UN Human Rights Council. Report of the Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights, Compilation on Thailand, A/HRC/WG.6/39/THA/2, (para 39, para 76). Retrieved April 8, 2020, from https://www.ecoi.net/en/file/local/2061049/A_HRC_WG.6_39_THA_2_E.pdf

WHO Report 2010. Health System Financing. Retrieved April 8, 2020, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/44371/9789241564021_eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

World Health Organization. Universal Health Coverage (UHC). Retrieved April 8, 2020, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/universal-health-coverage-(uhc)

World Health Organization. WHO Constitution. Retrieved April 8, 2020, from https://www.who.int/governance/eb/who_constitution_en.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29