การจัดการความขัดแย้งด้านการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
การจัดการความขัดแย้ง, โรงพยาบาลของรัฐ, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุความขัดแย้งลักษณะการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความขัดแย้งระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและผู้มีส่วนได้เสียในโรงพยาบาลของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 4 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่ได้รับมอบหมาย 2) ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ไกล่เกลี่ยของโรงพยาบาล 3) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการเจรจาไกล่เกลี่ยของโรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุความขัดแย้งเกิดจากพฤติกรรมบริการการรักษาพยาบาล และทักษะการสื่อสารทุกโรงพยาบาลมีนโยบายในการจัดการความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์โดยสันติวิธี โดยเน้นการป้องกันและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้ง และหากเกิดความขัดแย้งขึ้นแล้วก็จะมีทีมเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อยุติความขัดแย้งลงได้โดยเร็ว และมีความยืดหยุ่นในการจัดการความขัดแย้ง โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้ง และทุกโรงพยาบาลได้นำแนวคิดระบบชดเชยความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดมาใช้ เพื่อเยียวยาความเสียหายที่ผู้รับบริการหรือผู้ป่วยได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรับบริการสาธารณสุข
References
กองบรรณาธิการ สำนักกฎหมาย. (2554). สิทธิในการรักษาพยาบาล : ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการทางด้านสาธารณสุข. จุลนิติ, น. 1-33.
กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี. (2565). รายงานสรุปผลการดำเนินงานในระบบหลักประกันสุขภาพ เขต 12.
ข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2555.
ข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564.
จารุณี พจน์สุจริต. (2560). ประสิทธิผลการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 : จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, ปีที่ 13 (2), น. 86-92.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, ปีที่ 13 (25), น. 103-118.
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525.
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539.
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545.
มรุต จิรเศรษฐสิริ. (2559). การพัฒนาระบบคุณภาพความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety) และการลดปัญหาการฟ้องร้อง. สืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564, จาก http://203.157.213.6/nitikarn/Lawyerclub/enforcement/download/marut.pdf
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
รัฐพล เย็นใจมา และคณะ. (2561). ความขัดแย้งในสังคม : ทฤษฎีและแนวทางแก้ไข. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 7 (2), น. 224-238.
ลันตา อุตมะโภคิน. (2554). ระบบชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด : การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขของไทย. จุลนิติ, น. 59-65.
ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2562). การบริหารจัดการความขัดแย้งในหน่วยบริการ. สืบค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.hfocus.org/content/2019/01/16725
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2554). ปัญหาฟ้องร้องทางการแพทย์และแนวทางแก้ไข. จุลนิติ, น. 47-58.
สมภูมิ หล้ารัศมี และคณะ. (2560). ศาลยุติธรรม : ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อความเป็นธรรมและเท่าเทียมได้. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 4 (2), น. 73-96.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นของวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์มีสิทธิในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ความคิดเห็นใด ๆ ของผู้เขียนในบทความ กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย ทั้งนี้กองบรรณาธิการวารสารไม่สงวนสิทธิในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย