การเข้าถึงข้อมูลของกฎหมายต่างประเทศในทางแพ่งและพาณิชย์
คำสำคัญ:
การเข้าถึงกฎหมายต่างประเทศ, กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, ที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์บทคัดย่อ
การเข้าถึงข้อมูลของกฎหมายต่างประเทศในทางแพ่งและพาณิชย์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่นิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนมีแนวโน้มที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวพันกับกฎหมายของหลายประเทศ ทำให้การปรับใช้กฎหมายไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะกฎหมายภายในของประเทศใดประเทศหนึ่งแต่เพียงประเทศเดียวอีกต่อไป โดยการเข้าถึงกฎหมายของต่างประเทศไม่เพียงแต่จะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของการเข้าถึงความยุติธรรมเท่านั้น หากแต่ยังช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่มีองค์ประกอบต่างประเทศ นอกจากนี้การเข้าถึงกฎหมายต่างประเทศยังเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและนักวิชาการที่ต้องการใช้ข้อมูลของกฎหมายต่างประเทศอีกด้วย ในขณะที่เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของการเข้าถึงกฎหมายของต่างประเทศนั้นอาจแบ่งได้เป็นสองลักษณะ กล่าวคือ การเข้าถึงกฎหมายของต่างประเทศในลักษณะที่เป็นทางการซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ที่มีสภาพบังคับในทางกฎหมาย และการเข้าถึงกฎหมายของต่างประเทศในลักษณะที่ไม่เป็นทางการผ่านความร่วมมือที่ไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย อย่างไรก็ดีการเข้าถึงกฎหมายของต่างประเทศในแต่ละลักษณะต่างก็มีปัญหาและข้อจำกัด ดังนั้นที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลจึงได้พยายามพัฒนาความร่วมมือที่เกี่ยวกับการเข้าถึงกฎหมายของต่างประเทศแต่จนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังไม่ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเมื่อพิจารณาประเด็นการเข้าถึงกฎหมายต่างประเทศในทางแพ่งและพาณิชย์ภายใต้ระบบกฎหมายไทย ยังไม่ปรากฏว่าได้มีการบัญญัติกฎเกณฑ์การร้องขอข้อมูลของกฎหมายต่างประเทศไว้เป็นการเฉพาะ คงมีเพียงบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่อาจพอจะนำมาปรับใช้เพื่อเป็นฐานทางกฎหมายสำหรับการร้องขอข้อมูลของกฎหมายต่างประเทศได้
References
ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือกันทางศาลในคดีแพ่งและพาณิชย์กับความร่วมมือทางอนุญาโตตุลาการระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ฉบับลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2537.
ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือกันทางการศาลในคดีแพ่งและพาณิชย์กับความร่วมมือในด้านอนุญาโตตุลาการระหว่างราชอาณาจักรไทยและประเทศออสเตรเลีย ฉบับลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540.
ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือกันทางการศาลในคดีแพ่งและพาณิชย์ระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรสเปน ฉบับลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541.
ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางศาลระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฉบับลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2521.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช. (2561). คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481.
สนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือกันทางการศาลในคดีแพ่งและพาณิชย์ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐเกาหลี ฉบับลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.
อานนท์ ศรีบุญโรจน์. (2560). ความร่วมมือทางศาลว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกฎหมายต่างประเทศในทางแพ่งและพาณิชย์. วารสารกฎหมาย, 35 (2), 27-43.
Additional Protocol to the European Convention on Information on Foreign Law 1978.
Barry J. Rodger and Juliette Van Doorn. (1997). Proof of Foreign Law: The Impact of the London Convention. International and Comparative Law Quarterly, 46 (1), 151-173.
Carlos Esplugues. (2011). General Report on the Application of Foreign Law by Judicial and Non-judicial Authorities in Europe. In Carlos Esplugues, José Luis Iglesias, & Guillermo Palao (Eds.), Application of Foreign Law, pp. 3-97. Munich: Sellier. European Law Publishers.
Claire M. Germain. (2007). Legal Information Management in a Global and Digital Age: Revolution and Tradition. International Journal of Legal Information, 32 (1), 134-163.
Claire M. Germain. (2013). Worldwide Access to Foreign Law: International & National Developments Toward Digital Authentication. Comparative Law Journal of the Pacific, 19, 85-108.
Daniel Poulin. (2012). Free Access to Law in Canada. Legal Information Management, 12 (3), 165-172.
Divita Pagey. (2020). Comparative Legal Research in Copyright in the Digital Age: Nature, Significance and Methodological Steps. ILI Law Review, (Winter Issue), 81-95.
European Convention on Information on Foreign Law 1968.
Explanatory Report to the European Convention on Information on Foreign Law. Retrieved Feb. 11, 2022, from https://rm.coe.int/16800c92f3
Graham Greenleaf, Philip Chung & Andrew Mowbray. (2006). Emerging Global Networks for Free Access to Law: WorldLII’s Strategies. Journal of Electronic Resources in Law Libraries, 1 (1), 1-54.
Guiding Principles to be Considered in Developing a Future Instrument 2008.
Inter-American Convention on Proof of and Information of Foreign Law 1979.
Meeting Report Access to Foreign Law in Civil and Commercial Matters. (2012). Retrieved Feb. 8, 2022, from https://assets.hcch.net/docs/33f3ac6c-5c6d-4440-9df4-bf195ecf383d.pdf
Nerina Boschiero and Benetta Ubertazzi. (2017). Italy: Proof and Information about Foreign Law in Italy. In Yoko Nishitani (Ed.), Treatment of Foreign Law – Dynamics towards Convergence?, pp. 255-287. Cham: Springer International Publishing.
Omari Issa Ndamungu. (2021). The Montreal Declaration on Free Access to Law (MDFAL) of 2002: A Weak Reed for Global Realization of the Right to Access Legal Information. Journal of Law, Policy and Globalization, 105, 63-74.
Permanent Bureau. (2009). Accessing the Content of Foreign Law and the Need for the Development of a Global Instrument in This Area – A Possible Way Ahead. Retrieved Feb. 8, 2022, from https://assets.hcch.net/docs/ec2804c3-f55c-427d-9761-e0fa4eac41a7.pdf
Permanent Bureau. (2009). Accessing the Content of Foreign Law Report of the Meeting of Experts on Global Co-operation on the Provision of Online Legal Information on National Laws (The Hague, 19-21 October 2008). Retrieved Feb. 8, 2022, from https://assets.hcch.net/docs/d9c58909-e39e-45b1-aa82-a9b13a00ad19.pdf
Philippe Lortie & Maja Groff. (2017). The Evolution of Work on Access to Foreign Law at the Hague Conference on Private International Law. In Yoko Nishitani (Ed.), Treatment of Foreign Law – Dynamics towards Convergence?, pp. 615-638. Cham: Springer International Publishing.
Shaheeza Lalani. (2011). A Proposed Model to Facilitate Access to Foreign Law. Yearbook of Private International Law, 13, 299-313.
Swiss Institute of Comparative Law. (2011). The Application of Foreign Law in Civil Matters in the EU Member States and Its Perspectives for the Future: Synthesis Report with Recommendations. Lausanne: Swiss Institute of Comparative Law.
Tatiana de Maekelt. (1982). General Rules of Private International Law in Americas: New Approach. In Collected Course of the Hague Academy of International Law, Volume 177. pp. 193-380.
The Montreal Declaration on Free Access to Law 2002.
Universal Declaration of Human Rights 1948.
Yoko Nishitani. (2017). Proof of and Information About Foreign Law. In Martin Schauer and Bea Verschraegen (Eds.), General Report of the XIXth Congress of the International Academy of Comparative Law, pp. 165-194. Netherlands: Springer.
Yoko Nishitani. (2017). Treatment of Foreign Law: Dynamics Towards Convergence? – General Report. In Yoko Nishitani (Ed.), Treatment of Foreign Law – Dynamics towards Convergence?, pp. 3-60. Cham: Springer International Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นของวารสารกฎหมายสงขลานครินทร์ วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์มีสิทธิในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ความคิดเห็นใด ๆ ของผู้เขียนในบทความ กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย ทั้งนี้กองบรรณาธิการวารสารไม่สงวนสิทธิในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย