รัฐธรรมนูญของชนชั้นนํา: วิเคราะห์กรณีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (สยาม) พุทธศักราช 2475

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย นาจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชากฎหมายมหาชน สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และนักศึกษาระดับชั้นปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ Victoria University of Wellington, natdanai.nac@mfu.ac.th https://orcid.org/0000-0001-5941-8477

คำสำคัญ:

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475, ชนชั้นนำทางการเมือง , รัฐธรรมนูญของชนชั้นนำ

บทคัดย่อ

ภายใต้มุมมองของแนวคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญของชนชั้นนำ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ถือเป็นหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่ชนชั้นนำทางการเมืองจัดสร้างขึ้นเพื่อการจำกัดความขัดแย้งระหว่างกันและกัน และเพื่อแบ่งสรรอำนาจทางการเมืองภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญใหม่ หลักฐานสนับสนุน คำกล่าวอ้างนี้สามารถพบได้จากการสำรวจพัฒนาการของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีรากมาจากความขัดแย้งของชนชั้นนำทางการเมือง และกระบวนการจัดสร้างรัฐธรรมนูญที่ถูกครอบงำโดยชนชั้นนำทางการเมืองโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมไปถึงตัวบทของรัฐธรรมนูญที่สะท้อนให้เห็นภาพของการเจรจาต่อรองระหว่างชนชั้นนำทางการเมืองเพื่อจัดสร้างรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง หลักฐานสำคัญอีกประการหนึ่งคือกรณีที่การดำรงอยู่ของรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของชนชั้นนำทางการเมือง บทความนี้ชี้ชวนให้ผู้อ่านทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญฉบับปี พุทธศักราช 2475 ในลักษณะนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่าจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทยนั้นถูกครอบงำโดยชนชั้นนำทางการเมือง การทำความเข้าใจพัฒนาการของรัฐธรรมนูญโดยอาศัยแนวคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญของชนชั้นนำถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทยจากมุมมองที่แตกต่างไปกับแนวคิดว่าด้วยการจัดสร้างรัฐธรรมนูญกระแสหลัก ซึ่งน่าจะสามารถช่วยให้เราทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญไทยที่มีลักษณะของการจัดสร้างรัฐธรรมนูญซ้ำไปมาหลายครั้ง รวมถึงเข้าใจวงจรการรัฐประหารที่ประเทศประสบอยู่ได้

Author Biography

ณัฐดนัย นาจันทร์, อาจารย์ประจำสาขาวิชากฎหมายมหาชน สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และนักศึกษาระดับชั้นปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ Victoria University of Wellington, natdanai.nac@mfu.ac.th

นิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; นิติศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชากฎหมายมหาชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ Victoria University of Wellington

References

กรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (วิสุทธิ์). (2499). เรื่องของเจ้าพระยามหิธร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตีรณสาร.

กรมศิลปากร. (2478). แถลงการณ์ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.

เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.103, หนังสืออนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางวาสิกศิริวัฒน์ (สม วาสิกศิริ). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นิยมกิจ.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2551). ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ณัฐดนัย นาจันทร์. (2564). ความเข้าใจผิดระหว่างการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ในปี พ.ศ. 2489 และ 2491, วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์, 4 (1),1-15.

ณัฐดนัย นาจันทร์. (2564). แนวคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญของชนชั้นนำ, ใน ณรงค์เดช สรุโฆษิต (บรรณาธิการ). รัฐ รัฐธรรมนูญ และสิทธิเสรีภาพ : ทฤษฎีและปัญหาท้าทายในยุค 2021, 115-146. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ณัฐดนัย นาจันทร์. (2566). การใช้กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อจัดสร้างรัฐธรรมนูญใหม่: ข้อสังเกตว่าด้วยการจัดสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ภายใต้มุมมองของแนวคิดรัฐธรรมนูญของชนชั้นนำ, วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์, 5 (1), 1-23.

ณัฐพล ใจจริง. (2556). ขอฝันใฝ่ ในฝัน อันเหลือเชื่อ. กรุงเทพมหานคร: ฟ้าเดียวกัน

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2543). 2475 และ 1 ปีหลังการปฏิวัติ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ปฐมาวดี วิเชียรนิตย. (2563) การศึกษาบทบาทของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 – การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ศิลปวัฒนธรรม. พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ต้นคิดร่างรธน.ฉบับแรก ร.5 สั่งห้ามเหยียบแผ่นดิน?. สืบค้นวันที่ 30 มีนาคม 2566, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_24733.

สถาบันพระปกเกล้า. (2545). แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ "ประชาธิปไตย" ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2469–2475). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สุพจน์ แจ้งเร็ว. (2524). พระองค์เจ้าปฤษฎางค์, วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4 (1).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2475). ร.7 ม.1.3/142. An Ouline of Changes in the Form of Government. กรุงเทพมหานคร: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

เหรียญ ศรีจันทร์ และ เนตร พูนวิวัฒน์. (2493). การปฏิวัติครั้งแรกของไทย. ร.ศ.130. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กิมกลีหงวน จำกัด.

Adam Przeworski. (1988). Democracy as a Contingent Outcome of Conflicts. In Jon Elster and Rune Slagstad (Eds.), Constitutionalism and Democracy (Studies in Rationality and Social Change). Cambridge: Cambridge University Press.

Adrian Little. (2008). Democratic Piety. Edinburgh: Edinburgh University Press.

Andrei Yakovlev, Israel Marques, and Eugenia Nazrullaeva. From Competition to Dominance: Political Determinations of Federal Transfers in the Russian Federation. Retrieved March 30, 2023, from https://doi.org/10.2139/ssrn.2005710

Benjamin A. Batson. (1974). Siam’s Political Future: Documents from the End of the Absolute Monarchy. New York: Cornell University.

Bruce Ackerman. (2015). Three Paths to Constitutionalism – and the Crisis of the European Union, British Journal of Political Science 45 (4).

C. Wright Mills. (1956). The Power Elite. New York: Oxford University Press.

Chaiwatt Mansrisuk. (2017). Successful Transition, Failed Consolidation: Historical legacies and

Problems of Democratization in Thailand. PhD’s Thesis: Albert-Ludwigs-Universität.

Chris Baker and Pasuk Phongpaichit. (2014). A History of Thailand. 3rd ed. Singapore: Cambridge University Press.

Dan Slater and Joseph Wong. (2013). The Strength to Concede: Ruling Parties and Democratization in Developmental Asia, Perspectives on Politics 11 (3).

Daron Acemoglu and James A. Robinson. (2006). Economic Origins of Dictatorship and Democracy. United States: Cambridge University Press.

David Easton. (1965). A Systems Analysis of Political Life. United States: John Wiley & Sons, Inc.

Eugénie Mérieau. (2019). The 1932 Compromise Constitution: Matrix of Thailand’s Permanent Constitutional Instability. In Kevin YL Tan and Bui Ngoc Son (Eds.), Constitutional Foundings in Southeast Asia. Oxford: Hart Publishing.

Eva Etzioni-Halevy. (1988). Inherent Contradictions of Democracy: Illustrations from National Broadcasting Corporations, Comparative Politics 20 (3).

Joel Colón-Ríos. (2011). Notes on Democracy and Constitution-Making, New Zealand Journal of Public and International Law, 9 (1).

John Higley and Michael Burton. (2006). Elite Foundations of Liberal Democracy. United States of America: Rowman & Littlefield Publishers, Inc.

Keith G. Banting. (1984). “Introduction: The Politics of Constitutional Change” in The Politics of

Constitutional Change in Industrial Nations: Redesigning the State. London: Macmillan.

King Prajadhipok. (1974). Problem of Siam. In Benjamin A. Batson (Ed.), Siam’s Political Future: Documents From the End of the Absolute Monarchy. New York: Cornel University.

Kirsti Samuels. (2021). Democracy-Building & Conflict Management (DCM), Geneva : International IDEA.

Kullada Kesboonchoo Mead. (2004). The Rise and Decline of Thai Absolutism. New York : Routledge Curzon.

Michael Albertus and Victor Menaldo. (2016). Authoritarianism and the Elite Origins of Democracy. United States: Cambridge University Press.

Natdanai Nachan. (2020). Elite-Constructed Constitutions, Cultural and Religious Studies, 8 (11).

Ran Hirschl. (2013). The Strategic Foundations of Constitutions, In Denis J. Galligan and Mila Versteeg (Eds.), Social and Political Foundations of Constitutions. United States of America: Cambridge University Press.

Robert Michels. (1966). Political Parties. United States: Free Press.

Russell Hardin. (2013). Why a Constitution?. In Denis J. Galligan and Mila Versteeg (Eds.), Social and Political Foundations of Constitutions. United States: Cambridge University Press.

The National Archives. Bangkok Archives, FO 628/49. Retrieved March 30, 2023, from https://discovery.nationalarchives.gov.uk/details/r/C3732296.

The Singapore Free Press. Jottings from Siam: The Old Order Changing. Retrieved March 30, 2023, from, eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Art icle/freepress19260407- 1.2.24?ST=1&AT=advanced&DF=01%2f01%2f1926&DT=31%2f12%2f1926&NPT=freepr

ess&L=&CTA=Article&SortBy=Oldest&k=Bangkok%26ka%3dBangkok&P=2&Dis play=1&filterS=0&QT=bangkok&oref=article#, -.3.

The Singapore Free Press. Siamese Rebel Kill. Retrieved March 30, 2023, from, eresources.nlb.gov.sg/news papers/Digitised/Article/singfreepressb19331025-1.2.12.

Todd A. Eisenstadt, A. Carl LeVan, and Tofigh Maboudi. (2017). Constituents Before Assembly: Participation, Deliberation, and Representation in the Crafting of New Constitutions. Cambridge: Cambridge University Press.

Tofigh Maboudi and Ghazal P. Nadi. (2022). From Public Participation to Constitutional Legitimacy: Evidence from Tunisia, Political Research Quarterly, 75 (2).

Tom Ginsburg, Zachary Elkins, and Justin Blount. (2009). Does the Process of Constitution-Making Matter?, Annual Review of Law and Social Science, 5 (1).

Tom Ginsburg. (2013). Constitutions as Contract, Constitutions as Charters. In Denis J. Galligan and Mila Versteeg (Eds.), Social and Political Foundations of Constitutions. United States: Cambridge University Press.

Zachary Elkins, Tom Ginsburg, and James Melton. (2009). The Endurance of National Constitutions. United States: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30