ระบบรายงานการประเมินตนเองแบบ Taxonomy เพื่องานประกันคุณภาพการศึกษา

Main Article Content

เกษม ทิพย์ธาราจันทร์
ฐิติพร เลิศรัตน์เดชากุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบรายงานการประเมินตนเองอิเล็กทรอนิกส์ (E-SAR) โดยมุ่งเน้นการจัดการรูปแบบการจัดเก็บเอกสารและการนำไปที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบด้วย Taxonomy และการออกแบบ Taxonomy teams ตามโครงสร้างการดำเนินงานของหน่วยงานและเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา โดยผู้เป็นเจ้าของเอกสารสามารถจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นหมวดหมู่ได้ด้วยตนเองโดยการใช้ Multiple Rags และผู้ที่ต้องการใช้เอกสารอ้างอิง สามารถค้นหาด้วยวิธี Tag filtering เพื่อกรองเอกสารที่ต้องการและนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องสำเนาเพิ่มเติม สร้างความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาและเชื่อมโยงเอกสารอ้างอิงเพื่อเป็นหลักฐานในการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ระบบรายงานการประเมินตนเองด้วยรูปแบบการจัดเก็บเอกสารที่พัฒนาขึ้นนี้ ถูกใช้เป็นระบบ Intranet ของคณะ หลักสูตร และคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการนำเสอนผลการดำเนินงานต่างๆ ตลอดปีการศึกษา และการส่งเอกสารรายงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เช่น มคอ. 3-6 โดยใช้ Timestamp ของระบบเป็นหลักฐานเพื่อตรวจสอบวันที่ส่งเอกสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพ ซึ่งผลการดำเนินงานและเอกสาร มคอ. เหล่านี้ถือเป็นข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของคณะ/หลักสูตร โดยผลสำรวจความพึงพอใจจากผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาและผู้ที่ทำงานด้านประกันคุณภาพ พบว่า มีค่าลี่ยระดับความพึงพอใจเท่ากับ 4.20 จาก 5 ซึ่งหัวข้อที่มีความพึงพอใจสูงสุด คือ “สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนเองได้” รองลงมาคือ “ในการทำ E-SAR สามารถเชื่อมโยงข้อมูล เอกสารอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, “ระบบรายงานการประเมินตนเองอิเล็กทรอนิกส์,. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก https://www.ilac.cmru.ac.th/e-sar

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, “ระบบฐานข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเองออนไลน์ (e-SAR),” สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก Available: https://e-sar.buu.ac.th/e-sar

สำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, “E-SAR,” สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2550 จาก https://www.qa.psu.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, “คู่มือการใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูงานประกันคุณภาพการศึกษาออนไลน์,” สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก https://qa.pkru.ac.th/file_upload_temp/5B8ACF32M.pdf

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, “ระบบ SAR Online,” สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก https://qa.src.ku.ac.th/QAsar/doc_sar.pdf

คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, “ระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพและการบริหารงาน,” สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก https://www.qa.ku.ac.th/Download/bestpratices2554/2554w/2554w_Veterinary%20Medicine.PDF

เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร, ไพศาล กาญจนวงศ์ และอาบทิพย์ มงคลเทพ, “ระบบสารสนเทศคณะเพื่องานประกันคุณภาพ,” สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก https://www.ns.mahidol.ac.th/english/KM/FIS/fis_qa.pdf

เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร, ไพศาล กาญจนวงศ์ และอาบทิพย์ มงคลเทพ, “เอกสารประกอบการอบรมการบันทึกข้อมูลระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการประกันคุณภาพการศึกษา,” สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก https://www.ns.mahidol.ac.th/english/KM/FIS/fis_data.pdf

อิทธิพันธ์ โยทะพันธ์, “การจัดทำ SAR Online คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา,” วารสารวิจัยรำไพพรรณี, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, เดือนตุลาคม 2555 – มกราคมคม 2556, หน้าที่ 56-64

สถาบันคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, “ระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา,” สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก https://www.reportqa.ru.ac.th/report_qa2013/app

TechRepublic, “Understanding information taxonomy helps build better apps,” June 25, 2003. [Online]. Available: https://www.techrepublic.com/article/understanding-information-taxonomy-helps-build-better-apps. [Accessed: April 10, 2015].