อิทธิพลการอุปถัมภ์จากองค์กรและสมรรถนะที่ส่งผลกับประสิทธิภาพการผลิต กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์องค์กรญี่ปุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการอุปถัมภ์จากองค์กรและสมรรถนะที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตของพนักงานฝ่ายผลิตในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์องค์กรญี่ปุ่นที่แห่งหนึ่ง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์องค์กรญี่ปุ่นที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 1 (Tier 1) แห่งหนึ่ง จำนวน 430 ตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการตรวจสอบโมเดลแบบจำลองสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์องค์กรญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 1 แห่งหนึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยมีค่าสถิติ Chi-Square = 213.517, df = 52, Chi-Square/df = 4.106, p = 0.00, CFI = 0.96, GFI = 0.93, RMSEA = 0.08, RMR = 0.03 ผลการทดสอบ พบว่า 1) การอุปถัมภ์จากองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการผลิตมีค่าเท่ากับ 0.28 2) สมรรถนะมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการผลิตมีค่าเท่ากับ 0.65 3) การอุปถัมภ์จากองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะมีค่าเท่ากับ 0.56 4) การอุปถัมภ์จากองค์กรมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการผลิตผ่านตัวแปรคั่นกลางสมรรถนะ โดยมีค่าอิทธิพลทางตรง 0.28 ค่าอิทธิพลทางอ้อม 0.36 และอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.64
ดังนั้น จึงแสดงให้เห็นว่า องค์กรที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต องค์กรต้องให้การสนับสนุนทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน พนักงานต้องได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างาน และได้รับการสนับสนุนในการฝึกอบรมพัฒนา นอกจากนั้น พนักงานต้องมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่ตามค่านิยมหลักขององค์กร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความยินดีรับบทความจากอาจารย์ นักศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาบริหารธุรกิจและภาษา ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นที่นำส่ง ดังนั้นผู้สนใจที่จะร่วมเผยแพร่ผลงานและความรู้ที่ศึกษามาสามารถนำส่งบทความได้ที่กองบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองบทความพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารต่อไป ทั้งนี้บทความที่สามารถเผยแพร่ได้ประกอบด้วยบทความวิจัย ผู้สนใจสามารถศึกษาและจัดเตรียมบทความจากคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจาก กองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏภายในบทความของแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในสถาบัน แต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
- กองบรรณาธิการ วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
- ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
เลขที่ 1771/1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ซอยพัฒนาการ 37-39 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 ติดต่อกับคุณพิมพ์รต พิพัฒนกุล (02) 763-2752 , คุณอาริสา จิระเวชถาวร (02) 763-2600 Ext. 2704 Fax. (02) 763-2754 หรือ E-mail: JBAL@tni.ac.th
References
Ahmad, Z. A., & Yekta, Z. A. (2010). Relationship between perceived organizational support, leadership behavior, and job satisfaction: An empirical study in Iran. Intangible Capital, 6(2), 162–184.
Byrne, B. (2009). Structural Equation Modeling with Amos: Basic Concepts, Applications, and Programming (2nd ed.). New York, NY: Taylor and Francis.
Chamluck Khunpolkaew. (2005). Basic Productivity Improvement (in Thai) (5th ed.). Bangkok, Thailand: Thailand Productivity Institute.
Chiang, C.-F., & Hsieh, T.-S. (2012). The impacts of perceived organizational support and psychological empowerment on job performance: The mediating effects of organizational citizenship behavior. International Journal of Hospitality Management, 31(1), 180–190.
Daruwan Panya, & Boonyada Nasomboon. (2022). Competency of production operator affecting working efficiency on Japanese automobile manufacturers in Amata City Chonburi industrial estate (in Thai). The 8th Thai-Nichi Institute of Technology Academic Conference (TNIAC2022), 320–326. Retrieved from https://tniac.tni.ac.th/2022/wp-content/uploads/2022/07/TNIAC2022.pdf
Department of Employment. (2022). Strategies for solving and preventing labor shortages (in Thai). Retrieved from https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/498391d8154f6237d5db6b423d5f1b85.pdf
Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S., & Sowa, S. (1986). Perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 71(3), 500–507.
Eliza, Y., Masrisal, D., Insani, D., & Jasvia, Y. (2020). Effect of employee competency, organizational commitment and workload on employee performance of public works and spatial planning (PUPR) service of West Sumatra Province. Asian Journal of Social Science and Management Technology, 2(5), 175–181.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Hata T. (2016). Factory Personnel Development in Monozukuri Style (in Thai) (B. Rojarayanont, Trans.). Bangkok, Thailand: TPA Publishing.
Kline, R. B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling (3rd ed.). New York, NY: The Guilford Press.
Kraikhun Karnjanaprapas, & Boonyada Nasomboon. (2021). Human capital and organizational sponsorship affecting career success in automotive research and development subsidiaries (in Thai). TNI Journal of Business Administration and Languages, 9(1), 54–71.
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for “intelligence”. American Psychologist, 28(1), 1–14. doi:10.1037/h0034092
Nafiudin., Nurjanah, S., Tjalla, A., Suparno., Febriantina, S., Andari., …, & Suprayogi, W. (2023). Study of workload and employee competence towards employee performance with organizational commitment as an intervening variable. Jurnal Riset Manajemen Sains Indonesia, 14(2), 1–11.
Ng, T. W. H., Eby, L. T., Sorensen, K. L., & Feldman, D. C. (2005). Predictors of objective and subjective career success: A meta-analysis. Personnel Psychology, 58(2), 367–408. doi:10.1111/j.1744-6570.2005.00515.x
Panitada Limrueangrong, & Jutamard Thaweepaiboonwong. (2021). The influence of human resource development on employee performance: The mediating role of competency (in Thai). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 14(27), 75–86.
Paramate Wareevanich, Chuleewan Chotiwong, & Preeda Attavinijtrakarn. (2022). The potential development model of manpower to increasing productivity in the automotive parts industry in the digital era (in Thai). Nakhon Lampang Buddhist’s Journal, 11(2), 16–31.
Sabuhari, R., Sudiro, A., Irawanto, D. W., & Rahayu, M. (2020). The effects of human resource flexibility, employee competency, organizational culture adaptation and job satisfaction on employee performance. Management Science Letters, 10(5), 1777–1786.
Shore, L. M., & Tetrick, L. E. (1991). A construct validity study of the survey of perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 76(5), 637–643.
Thailand Automotive Institute. (2018). TAI Conducts Brainstorming: The Future Thai Automotive Industry. Retrieved from https://www.thaiauto.or.th/2020/news/news-detail.asp?news_id=4358
Vijh, G., Sharma, R., & Agrawal, S. (2022). Effect of competency on employee performance and the mediating role of commitment: An empirical investigation in the IT industry. Journal of Information and Optimization Sciences, 43(7), 1573–1587.
Weeraya Tongsuar. (2023). Looking at the direction of the Thai automotive parts industry in 2023-2024 (in Thai). Retrieved from Krungthai website: https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_1918Research_Note_Auto_Part_20_03_66.pdf
World Economic Forum. (2016). New Vision for Education: Fostering Social and Emotional Learning through Technology (Report No. REF 040316). Retrieved from https://www3.weforum.org/docs/WEF_New_Vision_for_Education.pdf