ผลของการจัดประสบการณ์แบบโครงการเสริมด้วยเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

นุจรินทร์ บุดดา
สมชาย วรกิจเกษมสกุล
พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการเสริมด้วยเกมการศึกษาระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มโรงเรียนในเครือคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์แห่งประเทศไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 40 คน ได้โดยการสุ่มแบบกลุ่ม แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัย เชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ  จำนวน 3 แผน เกมการศึกษา  แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบสังเกตความรับผิดชอบของเด็กปฐมวัย การดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 45 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้


  1. นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการเสริมด้วยเกมการศึกษา มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.75 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 58.12 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 16.59 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.87 คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการเสริมด้วยเกมการศึกษา มีคะแนนความรับผิดชอบเท่ากับ 2.59 คะแนน แสดงว่านักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการเสริมด้วยเกมการศึกษามีความรับผิดชอบอยู่ใน ระดับดี   

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย