ความสามารถในการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับ การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตามแนวคิด การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบร่วมมือ

Main Article Content

จุมพิต ศรีวัฒนพงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อ     การสื่อสารและการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษารหัส 63 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งเป็นนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น จำนวน 25 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถทางการสื่อสาร แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้  การหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. นักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์มีความสามารถในการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มชาติพันธุ์มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ ฐานะกอง. (2559). การใช้กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษและความรู้ด้านไวยากรณ์ของ

นักศึกษาระดับปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จารุวรรณ สังฆะจารย์. (2565). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถม

ศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนธี ชำนาญกิจ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในสหกิจศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ

ร่วมมือและแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2542). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

เมลดา สุดาจิตรอาภา. (2562). ภาษาศาสตร์ประยุกต์: สหวิทยาการเพื่อการแก้ปัญหาด้านภาษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชรา รัตนศรี. (2561). การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Web Based Learning ที่เหมาะสมกับรายวิชา

วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์].

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สนิท สัตโยภาส. (2551). แบบฝึกเพื่อสอนเสริมนักเรียนชาวเขาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาด้านการออกเสียงตัวสะกดไม่ชัดเจน. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ, และอรทัย มูลคำ. (2553). วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 9. นนทบุรี: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Harmer, J. (2007). The Practice of English Language Teaching (4th ed.). London: Pearson Longman.

Johnson, D. W., and Johnson, R. T. (1994). Learning together and Alone: Cooperative and Individualistic Learning (4th ed.). New Jersey:

Prentice Hall.

Littlewood, W. (1988). Communicative Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Luthans, F. (2002). Organization behavior (9th ed.). New York: McGraw-Hill Companies.

Richard, J. C. (2006). Communicative Language Teaching Today. Cambridge: Cambridge University Press.

Slavin, R. E. (1990). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice. New Jersey: Prentice-Hall.

การสัมภาษณ์

ภัสร์ฐิตา ถาวร. (2564). อาจารย์หลักสูตรภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. การสื่อสารส่วนบุคคล, 17 พฤษภาคม.

ศุภลักษณ์ ใจอุ่น. (2564). ครูโรงเรียนบ้านม่วงชุม จังหวัดเชียงใหม่. การสื่อสารส่วนบุคคล, 19 พฤษภาคม.

ศศิวิมล แดงมูล. (2564). ครูโรงเรียนแม่ริมวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. การสื่อสารส่วนบุคคล, 19 พฤษภาคม.

อรพิน ลือพันธ์. (2564). อาจารย์พิเศษ สำนักงานการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. การสื่อสารส่วนบุคคล, 17 พฤษภาคม.