กลวิธีทางภาษากับการสื่อความหมาย “#การเรียนออนไลน์” ในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษากับการสื่อความหมายจาก #การเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก ที่โพสต์ตั้งแต่ 1 – 31 กรกฎาคม 2564 ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ 187 โพสต์ และใช้กรอบแนวคิดการวิจัยสาขาภาษาศาสตร์ด้านการวิเคราะห์ความหมาย ผลการศึกษาพบว่า มีกลวิธีทางภาษา 11 กลวิธี ได้แก่ (1) การอ้างประสบการณ์หรือข้อเท็จจริง 106 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 56.68 (2) การแสดงความรู้สึก 83 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 44.39 (3) การถาม 78 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 41.71 (4) การติเตียน 64 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 34.22 (5) การเสียดสี 48 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 25.67 (6) การยืนยัน 30 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 16.04 (7) การเรียกร้อง 29 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 15.51 (8) การแนะนำ 19 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 10.16 (9) การสร้างอารมณ์ขัน 12 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 6.42 (10) การคาดคะเน 6 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 3.21 และ (11) การคาดหวัง 5 โพสต์ คิดเป็นร้อยละ 2.67 โดยมีการสื่อความหมายการเรียนออนไลน์ที่สะท้อนถึงเจตนาของผู้โพสต์อย่างหลากหลาย เช่น วิธีการสอน ทักษะและความรู้ของครู สภาพแวดล้อมในการเรียน ความพร้อมของครอบครัว สภาพเศรษฐกิจ
Downloads
Article Details
References
กรมควบคุมโรค. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th
กาญจนา ต้นโพธิ์. (2563). การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาและกลวิธีการนำเสนอเนื้อหาในเฟซบุ๊กแฟนเพจยอดนิยมของไทย. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 39(1). 1-14.
กานต์ธิดา อ่อนเกตุพล, และอลิสา คุ่มเคี่ยม. (2565). กลวิธีทางภาษาในการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อนวนิยายออนไลน์ในเว็บไซต์ “readAwrite”.
อินทนิลทักษิณสาร, 17(1), 175-194.
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2562). การวิเคราะห์ข้อความ (Discourse Analysis). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิติมา บุญแลบ, และปนันดา เลอเลิศยุติธรรม. (2561). กลวิธีการขอร้องในการสื่อสารของสมาชิกในครอบครัว. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์, 13(26), 104-115.
ณัฐณิชา ฟั่นคำสาย, สุนิสา กัลป์เกตุ, อรณัฐ ลุสนธิ และอัญธิกา เผือกเนียม. (2565). วัจนกรรมโควิด 19 ในสื่อออนไลน์ : ประเภทวัจนกรรมและความหมาย.
วารสารอักษราพิบูล, 3(2), 33-50.
ณัฐวดี คมประมูล, จริญญา ธรรมโชโต และพัชลินจ์ จีนนุ่น. (2561). วัจนกรรมในการให้คำปรึกษาเรื่องความรัก ในคอลัมน์คนดังนั่งเขียนของดีเจพี่อ้อย
[เอกสารนำเสนอ]. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, จังหวัดสงขลา, ประเทศไทย.
ปรีชา ธนะวิบูลย์ และสิริวรรณ นันทจันทูล. (2559). วัจนกรรมคำคมความรักในเครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 10(1), 137-150.
มนธิชา ทองหัตถา. (2564). สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(1), 43-51.
รัชนีบูรณ์ เนตรภักดี, คัมภีรภาพ คงสำรวย, อานันท์ กรมน้อย, และเตือนใจ ผางคำ. (2563). ความปกติใหม่ (New Normal) กับแนวทางการจัดการศึกษาใน
ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 752-763.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมคำใหม่ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1-2. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา. (2564). เพราะการศึกษาหยุดไม่ได้ ต่างประเทศเรียนกันอย่างไรในช่วงโควิด.
ออนไลน์. https://www.eef.or.th/education-abroad-covid
วัฒนา แช่มวงษ์, และคณะ. (2558). กลวิธีการใช้ภาษาในวาทกรรมโฆษณาเครื่องสำอางไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอน แบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส
COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.
สินทรัพย์ ยืนยาว และคณะ. (2560). กลวิธีการแสดงความคิดเห็นกระทู้ทางการเมืองบนเฟซบุ๊กดอทคอม. วารสารรมยสาร, 15(2), 83-91.
อุมาภรณ์ สังขมาน. (2559). กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมเสียดสีเพื่อสร้างความตลกขบขันของไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, 23(1), 154-178.
Bezhovski, Z., & Poorani, S. (2016). The evolution of e-learning and new trends. Information and Knowledge Management, 6(3), 50-57.
Lassoued, Z., Alhendawi, M., & Bashitialshaaer, R. (2020). An Exploratory Study of the Obstacles for Achieving Quality in Distance
Learning during the COVID-19 Pandemic. Education Sciences, 10(9), 232. https://doi.org/10.3390/educsci10090232