การพัฒนาหลักสูตรต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัย ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

Main Article Content

ดวงใจ วิชัย
วิราวรรณ พุทธมาตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของหลักสูตร “การพัฒนาและยกระดับส้มโอสู่มาตรฐานอาหารปลอดภัย” เสริมเสร้างความมั่นคงด้านอาหารปลอดภัยสำหรับชุมชน ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย มีกระบวนการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 วางแผนและพัฒนาหลักสูตร การปลูกส้มโอปลอดสารพิษ ขั้นตอนที่ 2 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้หลักสูตร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก การวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจพื้นที่แปลงเกษตรกร และสอบถามความพึงพอใจกับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 25 คน ที่สมัครเข้าร่วมอบรม หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมได้จัดเวทีสรุปและสะท้อนผลการวิจัยกับภาคีเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาหลักสูตรภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย โดยหลักสูตรประกอบด้วย สาระสำคัญ ได้แก่ 1) การปลูกส้มโอปลอดสารพิษ และ 2) แนวทางการขับเคลื่อนและเชื่อมโยงเครือข่ายช่องทางการตลาดอาหารปลอดภัย เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้รูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติงานจริง ผลการจัดอบรม พบว่า โดยภาพรวมเกษตรกรผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจต่อการจัดอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด () และจากการติดตามประเมินผลหลังการอบรม พบว่า เกษตรกรสามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปฏิบัติการปลูกส้มโอในพื้นที่ของตนเองได้ การสะท้อนคิด พบว่า การมีส่วนร่วมและกำหนดบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ในการส่งเสริมการปลูกส้มโอปลอดสารพิษ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารปลอดภัยของชุมชนเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากจะทำให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน และเป็นการสนับสนุนที่ชัดเจน


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุกิจ. (4 กุมภาพันธ์ 2565). นำร่องปลูก "ส้มโอ" ปลอดสารพิษขาย ปรับตัวยุคโควิด-19. https://www.bangkokbiznews.com/news/986495.

คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

_________. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ.

ชญาณี โพธิ์ไกร และคณะ. (2561). กลไกการดำเนินงานของกลุ่มแปรรูปส้มโอ: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร สามัคคีโพธิ์ประทับช้าง

อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5: งานวิจัยและงานสร้างสรรค์สู่การพัฒนาประเทศไทย 4.0,

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร, ประเทศไทย.

นิคม ชมภูหลง. (2545). แนวทางการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร และการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถม

ศึกษาปีที่ 5-6 เรื่องการสาน มวย (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม.

นนทกานต์ จันทร์อ่อน. (2557). ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย (Thailand Food Security). กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการ

วุฒิสภา.

พัทธ์ธีรา รื่นพิทักษ์. (2557). ภาพฉายแห่งอนาคตของไทย ฝ่าวิกฤตการณ์อาหารโลก. สํานักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหวางประเทศ.

http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/semi-WorldFoodCrisis.pdf.

ธานี กุลแพทย์. (11 กุมภาพันธ์ 2558). “อดิศักดิ์ ช่วงแย้ม” ปราชญ์เกษตร...แห่งบางนางลี่. สำนักพิมพ์คมชัดลึก.

http://www.m-culture.in.th/album/36137.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2545). ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรสานต่อที่ท้องถิ่น. บริษัท เซ็นเตอร์ ดิสคัฟเวอรี จำกัด.

สันติ ศรีสวนแตง ประสงค์ ตันพิชัย อภิชาติ ใจอารีย์ และคณะ. (2557). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อประกอบอาชีพ

เกษตรกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อภิชาติ ใจอารีย์. (2559). การพัฒนาหลักสูตร การปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารปลอดภัย สำหรับชุมชน ภายใต้ความร่วมมือของภาคี

การพัฒนา [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, ประเทศไทย.