แนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์เส้นทางการขนส่งในแม่น้ำโขงตอนบน หลังสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษา ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน จังหวัดเชียงราย และท่าเรือกวนเหล่ย เขตปกครองพิเศษสิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วยตัวแสดง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ตัวแทนจากภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดทำสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค (SWOT) และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ โดยวิเคราะห์ผลโดยใช้กลุยุทธองค์กร 7S McKinsey จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้มีส่วนได้เสียการขนส่งสินค้าจากไทยของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนไปยังท่าเรือกวนเหล่อยของจีนตอนใต้ ประกอบด้วย ตัวแทนจากภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยการสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน รวม 22 คน โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาศักยภาพการขนส่งในแม่น้ำโขงตอนบน ของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน จังหวัดเชียงรายไปยังท่าเรือกวนเหล่ย จีนตอนใต้ และ 2. เพื่อศึกษาสถานการณ์การปิดท่าเรือท่าเรือกวนเหล่ย จีนตอนใต้ที่มีผลต่อการคมนาคมแม่น้ำโขงตอนบนของจังหวัดเชียงราย และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์เส้นทางการขนส่งในแม่น้ำโขงตอนบน หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบว่า 1. การเติบโตทางการค้าชายแดนเป็นผลมาจากนโยบายการค้าและการขนส่งของจีนในการผลักดันเส้นทางยุทธศาสตร์ขนส่งทางน้ำในการเป็นประตูจีนตอนใต้ ผ่านมลฑลยูนนานเชื่อมโยงสู่อาเซียน โดยปัจจัยเหล่านี้ นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาจังหวัดเชียงรายให้เป็นศูนย์กลางเมืองท่าเชื่อมโยงระหว่างจีนและอาเซียน 2. สถานการณ์ที่ปิดท่าเรือกวนเหล่ย เป็นผลมาจากมาตรการโควิดเป็นศูนย์ (Zero- Covid) มาตรการบังคับใช้นี้ แลกมาด้วยความเสียหายของระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจการขนส่งแม่น้ำโขงอย่างหนัก ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยต้องแบกรับต้นทุนการขนส่งทางบกผ่านเส้นทางR3Aที่เพิ่มขึ้นในช่วงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 และ 3. ยุทธศาสตร์ของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ในการพัฒนายุทธศาสตร์เส้นทางการขนส่งในแม่น้ำโขงตอนบน หลังสถานการณ์โควิด 19 ประกอบด้วย 1. สร้างข้อตกลงการคมนาคมทางน้ำโขงบน ระหว่างประเทศไทย เมียนมา สปป.ลาว และจีน 2. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของจังหวัดให้ได้มาตรฐาน และ 3. สร้างพันธมิตรด้านการค้าและการลงทุน
Downloads
Article Details
References
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2563). สถานการณ์การขนส่งล่าสุดในจีน ณ วันที่ 15 เมษายน 2563.
https://www.ditp.go.th/contents_attach/605310/605310.pdf
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2565). รู้จักกับท่าเรือกวนเหล่ยเมืองท่าหน้าด่านเชื่อมยูนนาน-สามเหลี่ยมทองคำ. https://www.tradelogistics.go.th
/th/article/ %E0%B8%9A%E0% B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%
E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81/guanlei
ชุติสร เรืองนาราบ. (2560). การค้าชายแดนของไทยโอกาสและการปรับตัว Border Trade Thailand’s Opportunity and Adaptation. วารสารเศรษฐศาสตร์
รามคำแหง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, S(S), 43-48.
ณัฐวัฒน์ โสมดี. (2556). เส้นทางการค้าชายแดนไทย-จีนตอนใต้ ด้านงานหัตถกรรม 10 สาขา ของภาคเหนือตอนบน ภายใต้กรอบเส้นทางเศรษฐกิจตามแนว
เหนือ-ใต้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่.
ธัญวัตน์ แช่มสนิม และคณะ. (2564). ผลกระทบของมาตรการทางการค้าตามประเพณีชายแดนไทย-ลาว ในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 : กรณีศึกษา ผู้
ประกอบการค้าสินค้าและผู้ประกอบการขนส่งทางเรือตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. Journal of Social Synergy, 12(2), 32–51.
ธีรภัท ชัยพิพัฒน์. (2556). การขยายตัวทางการค้าผ่านแดนระหว่างไทย-จีนตอนใต้ และการพัฒนาการขนส่งในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนภายใต้กรอบเขตการค้าเสรี
อาเซียน-จีน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Journal of Social Sciences and Humanities), 4(1), 96.
นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: พริ๊นต์โพร จำกัด.
นิสิต พันธมิตร. (2550). โครงการผลกระทบของการค้าชายแดนภาคเหนือจากข้อตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะ
กรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). จีนไฟเขียวแล้ว! เปิดท่าเรือกวนเหล่ยเชื่อมยูนนาน-สามเหลี่ยมทองคำ เอกชนลุ้นค้าลุ่มน้ำโขงฟื้น.
https://mgronline.com/local/detail/9650000088246
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). หอการค้าเหนือชงทูตจีนคนใหม่ เร่งเปิดท่าเรือกวนเหล่ย-ขุดลอกน้ำโขง-เปิดด่านรุ่ยลี่.
https://mgronline.com/local/detail/9640000080056
พรพินันท์ ยี่รงค์. (2563). ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจเชียงราย. เชียงราย: โครงการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิ
สติกส์. 1-5
ภูวนาท ฟักเกตุ. (2563). การพัฒนาระบบโลจิสติกส์นำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรไทย-จีน: กรณีศึกษาเส้นทางขนส่งมณฑลยูนนาน-ไทย ในเส้นทางแม่น้ำโขงและ
เส้นทางขนส่ง. Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University, 15(2), 182-208.
วรเทพ สุภาดุล. (2545). ประตูการค้าสู่จีนตอนใต้ (ยูนนาน). กรุงเทพ: สถาบันพระปกเกล้า.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). คาดค้าชายแดนไทยปี’64 ฝ่าวิกฤตเติบโตกว่า 28%... ตลาดจีนตอนใต้ขึ้นแท่นอันดับ 1 เป็นครั้งแรก.
https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/ economy/Pages/Border-Trade-z3271.aspx
สำนักงานพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2565). รู้จักกับท่าเรือกวนเหล่ย เมืองท่าหน้าด่านเชื่อมยูนนาน-สามเหลี่ยมทองคำ.
https://www.tradelogistics.go.th/th/article/ %E0%B8%9A%E0% B8%97%E0% B8%
%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%
B2%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81/guanlei
สุภางค์ จันทวานิช. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bangkok Post. (2015). Bangkok set to be China’s rail hub. https://www.bangkokpost.com /thailand/general/ 808364/bangkok-set-to-be-
china-rail-hub
Sondihitalk. (2564). จีนปิดยาว-ลาวปิดพรมแดนสกัดโควิด ค้าชายแดนไทยผ่านน้ำโขงดิ่งเหว 80%. https://sondhitalk. com/detail/9640000035965
THAIBIZCHINA. (2565). ยูนนานประกาศเปิดท่าเรือกวนเหล่ยให้ขนส่งสินค้า ผู้ประกอบการเตรียมพร้อมฟื้นฟูการเดินเรือบนแม่น้ำโขงกับจีน.
https://thaibizchina.com /article/%E0 %B8%A2%E0 %B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99% E0%
B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%
E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7/
สัมภาษณ์
ผู้ให้ข้อมูลหมายเลข 01, การสื่อสารส่วนบุคคล, 11 ตุลาคม สัมภาษณ์
ผู้ให้ข้อมูลหมายเลข 02, การสื่อสารส่วนบุคคล, 18 ตุลาคม สัมภาษณ์
ผู้ให้ข้อมูลหมายเลข 03, การสื่อสารส่วนบุคคล, 17 ตุลาคม สัมภาษณ์
ผู้ให้ข้อมูลหมายเลข 06, การสื่อสารส่วนบุคคล, 20 ตุลาคม สัมภาษณ์
ผู้ให้ข้อมูลหมายเลข 07, การสื่อสารส่วนบุคคล, 10 ตุลาคม สัมภาษณ์