ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 4) ศึกษาสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 205 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น กำหนดสัดส่วนตามขนาดของกลุ่มประชากรในแต่ละสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กกับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01กับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการจูงใจ, ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การ และปัจจัยด้านการพัฒนาบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถพยากรณ์ความสำเร็จ ได้ร้อยละ 74.5 ดังสมการพยากรณ์ต่อไปนี้ สมการรูปคะแนนดิบ คือ Y = 1.144 + .230X5 + .151X2 + .222X4 + .154X1 และสมการรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z = .312(Z5)+ .204(Z2)+ .280(Z4)+ .194(Z1)
Downloads
Article Details
References
กรุณา ภู่มะลิ. (2556). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออก [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏราช
นครินทร์]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ซุบรี ม่วงกุ้ง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต [วิทยานิพนธ์
ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2559). การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาครูใน
ถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูงชายแดนไทย-เมียนมา ด้านจังหวัดตาก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), 123 – 132.
ธัญญาลักษณ์ ฉิมเพชร. (2564, 27 มีนาคม). การบริหารงานงานบริหารทั่วไปของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมระดับชาติ วิทยาลัยราชสีมา, นครราชสีมา, ประเทศไทย.
นราดล ยตะโคตร. (2565). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษานครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) SNRU – มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสกลนคร.
นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2565). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสาร
วิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 133-146.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). โรงเรียนขนาดเล็ก ภาระหรือโอกาส และรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก.
https://www.trueplookpanya.com/education/content/73708/-teaarttea-teaart-teamet.
ยุทธนา วาโยหะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
รัชดาพร ขึ้นนกขุ้ม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 [วิทยานิพนธ์ป
ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
วิมาลย์ ลีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์
ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
วิทยา สวนกุหลาบ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
[วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
สอนนารินทร์ ปัททุม. (2559). ปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต
[วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) SNRU – มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1. (2566). สารสนเทศทางการศึกษา. http://www.phrae1.go.th/main.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. (2564). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550.
อรอุมา ไมยวงค์. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม
[วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970).Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement,
(3), 607 – 610.