การพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ตัวชี้วัด / องค์ประกอบ / การบริหารความเสี่ยง / งบประมาณการศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณการศึกษา และ 2) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ โดยมีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารงานงบประมาณ เพื่อกำหนดกรอบการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารงบประมาณด้วยเทคนิคเดลฟายกับผู้เชี่ยวชาญด้านงบประมาณจำนวน 21 คน ขั้นตอนที่ 3 จัดสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความเสี่ยงจำนวน 8 คน เพื่อรับข้อเสนอความคิดเห็นและคำแนะนำเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 4 ประเมินความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง จำนวน 128 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า
- ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 21 คน เห็นด้วยกับการพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณการศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการทั้ง 6 องค์ประกอบ คือ 1) ความเสี่ยงด้านงบประมาณ 2) ความเสี่ยงด้านการจัดซื้อจัดจ้าง 3) ความเสี่ยงด้านระบบการเบิกจ่าย 4) ความเสี่ยงด้านระบบการรับและนำส่งเงิน 5) ความเสี่ยงด้านระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป และ 6) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามนโยบายและตัวชี้วัดทั้ง 25 ข้อ
- ผลการสนทนากลุ่ม พบว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านงบประมาณทั้ง 8 คน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงด้านงบประมาณการศึกษา เหมาะสมดีแล้ว
3. การประเมินความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินทั้ง 128 คนในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ทุกคนเห็นด้วยกับมาตรการป้องกันการบริหารความเสี่ยงทั้งหมดที่กล่าวมาในระดับมากโดยเฉพาะมาตรการป้องกันความเสี่ยงด้านการจัดซื้อจัดจ้าง มีความพึงพอใจสูงสุด
References
ก้องกิติ พูลสวัสดิ์. (2560). การบริหารความเสี่ยง. เอกสารประกอบการบรรยาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน. (2557). คำแนะนำ: การจัดทำรายงานการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วย การกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2554 เล่ม 2, (รายงานตามระเบียบฯ ข้อ 6). สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2557). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธร สุนทรายุทธ. (2560). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: เนติกุลการพิมพ์.
ธารสุดา อมรเพชรกุล. (2559). การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงในส่วนการพัสดุ สำนักบริหารแผนและการคลัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม. คณะวิศวกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล สะอาดโฉม. (2560). การบริหารความเสี่ยงองค์กร. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊กส์.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
เพ็ญแข พิมพ์ไสย. (2558). การพัฒนาระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. การค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มณเฑียร เจริญผล. (2559). ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินพร้อมทั้งวิธีป้องกัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คู่มือการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร. เอกสารเผยแพร่บนเว็บไซต์ www.ku.ac.th/ กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2559). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ก.การพิมพ์.
สำนักงบประมาณ. (2548). ระเบียบการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สุพร เจียสุคนธ์. (2557). การพัฒนาระบบงานวิเคราะห์งบประมาณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม. เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. การค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุษณา ภัทรมนตรี. (2557). การตรวจสอบและควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์ ดิจิตอล.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ