การพัฒนาสมรรถนะในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบ

ผู้แต่ง

  • สุทัตตา ธรรมภัทรกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อรอุมา เจริญสุข คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

กระบวนการสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้, วิจัยอิงการออกแบบ

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อออกแบบกระบวนการสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้ (2) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์รอง คือ 2.1) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านความรู้และด้านเจตคติของนักเรียนก่อนและหลังเรียน 2.2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้กระบวนการสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบที่มีต่อสมรรถนะในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความรู้ แบบวัดทักษะการทำโครงงานและการนำเสนอ และแบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา DBR ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย Paired samples t-test และ One sample t-test

               ผลการวิจัยพบว่า

              การออกแบบกระบวนการสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้ ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.64-3.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.15-0.71 ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากทั้งหมด และผลการพัฒนากระบวนการสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้ เมื่อนำไปใช้กับกลุ่มทดลองพบว่า ในการดำเนินการวิจัยในช่วงระยะเวลาการจัดการเรียนรู้ มีสถานการณ์ที่นำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนกิจกรรมระหว่างการจัดการเรียนรู้ในบางกิจกรรม แต่ขั้นตอนกระบวนการเสริมต่อการเรียนรู้ยังคงขั้นตอนเดิมไว้ทั้ง 6 ขั้นตอน และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า สมรรถนะในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านความรู้คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t=18.000, p=0.000) เมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านเจตคติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านเจตคติของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=13.448, p=0.000) และเมื่อเปรียบเทียบการใช้กระบวนการสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบที่มีต่อสมรรถนะในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะ พบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=7.480, p=0.000)

References

นนท์ปวิธ กันเกลา. (2560). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจในมโนทัศน์ รายวิชาเคมี เรื่อง เคมีอินทรีย์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของโพสเนอร์ตามแนวทางการวิจัยอิงการออกแบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ.

เพียรศิลป์ ปินชัย, และสรบุศย์ รุ่งโรจน์สุวรรณ. (2556). การเสริมต่อการเรียนรู้การเขียน. วิชาการศึกษาศาสตร์, 14(2), 1-13.

รุ่ง แก้วแดง และคณะ. (2561). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2560: แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2551). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency based learning. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2559). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา: จุดประกายความคิดใหม่. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอคอนพริ้นติ้ง.

หทัยรัตน์ ยศแผ่น และ สมยศ ชิดมงคล. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Online Journal of Education, 9(1), 92-104.

Jamie McKenzie. (1999, December). Scaffolding for Success. Retrieved from http://fno.org/dec99/scaffold.html.

Michael J. and Hannafin. (2005, January). Design-based research and technology-enhanced learning systems. Educational Technology Research and Development, 53(4), 5-23.

Rosenshine, B., and Joseph Guenther. (1992). Using Scaffolds for Teaching Higher Level Cognitive Strategies: In Teaching for Thinking. Virginia: National Association of Secondary School.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

How to Cite

ธรรมภัทรกุล ส., เจริญสุข อ. ., & สุวทันพรกูล อ. (2021). การพัฒนาสมรรถนะในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสอนแบบเสริมต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(2), 198–212. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/249340