รูปแบบการพัฒนาครูด้านสื่อการเรียนการสอนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม

ผู้แต่ง

  • ธนชน อินทจันทร์ วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การพัฒนาครู, สื่อการเรียนการสอน, ไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำสื่อการเรียนการสอนของครูตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านสื่อการเรียนการสอนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม และ 3) ทดลองและประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านสื่อการเรียนการสอนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำสื่อการเรียนการสอนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านสื่อการเรียนการสอนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 3) ทดลองและประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านสื่อการเรียนการสอนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. สภาพปัญหาการจัดทำสื่อการเรียนการสอนของครูตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม โดยรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก

             2. รูปแบบการพัฒนาครูด้านสื่อการเรียนการสอนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม มีด้วยกัน 5 องค์ประกอบ คือ 1) จุดประสงค์การพัฒนา 2) ขอบข่ายการพัฒนา 3) กระบวนการพัฒนา 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การประเมินผลการพัฒนา

             3. ผลการทดลองและประเมิน พบว่า ครูสามารถผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอนในยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้เพิ่มขึ้น นักเรียน นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น และรูปแบบการพัฒนาครูด้านสื่อการเรียนการสอนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

ณัฐพร ทองศรี. (2555). ความตั้งใจใช้แท็บเล็ตของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 การประยุกต์ใช้ตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

นารีรัตน์ ยิ่งยวด. (2556). การนำเสนอวิธีการพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา สำหรับผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

พีรพงษ์ วงค์วิชัย. (2561). สภาพปัญหาและความต้องการใช้สื่อการสอนของครูในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รสริน พิมลบรรยงก์ และคณะ. (2554). เทคโนโลยีการศึกษา. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สมศักดิ์ บุตรโต. (2551). การพัฒนาบุคลากรในการผลิตและใช้เว็บเพจเพื่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านหนองอ้อ อําเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์หลักสูตร การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมาน อัศวภูมิ. (2550). การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(2), 10.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. http://www.vec.go.th/ กรุงเทพมหานคร.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560–2564. เอกสารเผยแพร่บนเว็บไซต์. https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ ewt_dl_link.php?nid=6422& fbclid=IwAR3epDpRpjew4dPUARJeahc-9HBhWXHd4LfbIPJo1I8n3UXRJ7gsGRrDv3k. กรุงเทพมหานคร.

สุภพ ไชยทอง. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

Krecie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13

How to Cite

อินทจันทร์ ธ. (2022). รูปแบบการพัฒนาครูด้านสื่อการเรียนการสอนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 7(1), 59–72. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/249931