การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การคิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ใน ชุมนุม TO BE NUMBER ONE ที่มีต่อทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้และการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา กรรมสิทธิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การสอนแบบผสมผสาน, การเรียนรู้โดยการคิดเป็นฐาน, การสอนแบบออนไลน์, ชุมนุม TO BE NUMBER ONE, ทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดทักษะชีวิตในด้านการตระหนักรู้และการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนในชุมนุม TO BE NUMBER ONE จำนวน 35 คน โรงเรียนเมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpcsive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การคิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และแบบวัดทักษะชีวิตด้านตระหนักรู้ในตนและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และค่าที (t – test Dependent)

             ผลการวิจัยพบว่า

             นักเรียนมีทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้และการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การคิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว. (2555). การพัฒนาหลักสูตรทักษะชีวิตโดยใช้การคิดเป็นฐานการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. พระนครศรีอยุธยา.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเพทฯ: สุวีริยสาล์น.

สกล วรเจริญศรี. (2550). การศึกษาทักษะชีวิตและการสร้างโมเดลกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา (2533) ICCS กับการประเมินผลหน้าที่ของเยาวชนไทยในฐานะพลโลก. www.onec.go.th/2020-02-20-paper Flap-ICO (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2009).

สวัสดิ์ นาปองสี. (2557). การพัฒนาหลักสูตรทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น สำหรับนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อมรวิชช นาครทรรพ. (2551). การศึกษาในวิถีชุมชน: การสังเคราะห์ประสบการณ์ในชุดโครงการวิจัยด้านการศึกษากับชุมชน. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุน สนับสนุน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13

How to Cite

กรรมสิทธิ์ ย., & มีสุวรรณ์ ว. (2022). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การคิดเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ใน ชุมนุม TO BE NUMBER ONE ที่มีต่อทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้และการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 7(1), 73–86. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/251282