รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การนิเทศภายในโรงเรียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 2) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายใน โดยดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษารูปแบบการนิเทศภายในด้วยเทคนิคเดลฟายกับผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศภายในโรงเรียน จำนวน 21 คน ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบด้านการนิเทศภายในโรงเรียนหรือครูผู้สอน จำนวน 185 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 21 คนเห็นด้วยกับรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1 ทั้ง 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียนมี 15 กิจกรรม ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียนมี 12 กิจกรรม ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการนิเทศภายในโรงเรียนมี 12 กิจกรรม ขั้นตอนที่ 4 การนำผลการประเมินมาปรับปรุง แก้ไข มี 5 กิจกรรม รวม 44 กิจกรรม
2. การประเมินความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบด้านการนิเทศภายในโรงเรียนหรือครูผู้สอนทั้ง 185 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 พบว่า ทุกคนเห็นด้วยกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนทั้งหมดที่กล่าวมาในระดับมาก
References
กรองทอง จิรเดชากุล. (2559). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธาราอักษร จำกัด.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2562). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษราพิพัฒน์.
กุลวดี บัวโชติ. (2557). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนในพระราชสำนัก. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
คมกริช มาตย์วิเศษ. (2559). การพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนจตุรพักตรพิมาน อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดุสิต สมศรี. (2559). การพัฒนาตัวแบบการบริหารแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทการกระจายอำนาจทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปฏิมา พูนทรัพย์. (2563). การศึกษาความต้องการการนิเทศภายในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2556). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136/ตอนที่ 57 ก/หน้า 42/ 1 พฤษภาคม 2562.
วชิรา เครือคำอ้าย. (2552). รูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณพร สุขอนันต์. (2560). รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรสิทธิ์ วรรณพงษ์. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2560). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช: การพัฒนาวิชาชีพ ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สงัด อุทรานันท์. (2562). การนิเทศการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม.
สันต์ชัย พูลสวัสดิ์. (2564). การพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สมุทรปราการ เขต 1. (2562). รายงานผลการนิเทศภายในประจำปีการศึกษา 2562. เอกสารลำดับที่ 10/2562 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ