ผลของโปรแกรมอุปนิสัย 7 ประการ เพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
อุปนิสัย 7 ประการ, การตั้งเป้าหมายในการเรียน, นักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมอุปนิสัย 7 ประการ เพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ จังหวัด กำแพงเพชร
เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 299 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จากห้องเรียน 2 ห้องที่ไม่มีความแตกต่างกันของคะแนนจากแบบวัดการตั้งเป้าหมายในการเรียน จากนั้นใช้การสุ่มเข้ากลุ่ม (Random Assignment) เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 33 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำนวน 36 คน นักเรียนกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรม 10 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมอุปนิสัย 7 ประการ เพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายในการเรียน 2) แบบวัดการตั้งเป้าหมายในการเรียน 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมแต่ละครั้ง 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโปรแกรมอุปนิสัย 7 ประการ เพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และต่อผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าสถิติ Parametric Statistics Paired – Sample t – test และ Parametric Statistics Independent – Sample t – test
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมอุปนิสัย 7 ประการ เพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายในการเรียน มีคะแนนจากแบบวัดการตั้งเป้าหมายในการเรียน ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมอุปนิสัย 7 ประการ เพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายในการเรียน มีคะแนนจากแบบวัดการตั้งเป้าหมายในการเรียน ภายหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมอุปนิสัย 7 ประการ เพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายในการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์. (2564). มาบ่มเพาะสร้างนิสัยดี ๆ กัน. เข้าถึงได้จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652010 (สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2564).
ทิพวรรณ ดอนดี. (2550). ผลของโปรแกรมพัฒนาอุปนิสัย 7 ประการของผู้มีประสิทธิผลสูงที่มีต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและความฉลาดในการเอาชนะอุปสรรคของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธัญรดา โสมรัตนานนท์ และมนัสนันท์ หัตศักดิ์. (2560). ผลของโปรแกรมพลังสุขภาพจิตที่มีผลต่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1): 72-83.
ธาดา รัชกิจ. (2562). การศึกษา (Education) สำคัญอย่างไรกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. เข้าถึงได้จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190625-education-for-hrd/ (สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564).
พาสนา นิยมบัตรเจริญ. (2551). ผลของโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิสารพิทยากร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มูฮำมัด หะยีอัมเสาะ. (2555). ผลของการใช้นวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาด้านการเรียนรู้ที่มีต่อพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบระบบการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รดารัตน์ ยุมิมัย และประยุทธ ไทยธานี. (2563). ผลของการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาที่มีต่อการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารราชพฤกษ์, 18(1), 74-82.
วนิดา สิงห์น้อย. (2558). พัฒนาตนพัฒนาองค์กรจากภายในสู่ภายนอก. นิตยสาร สสวท, 43(194), 48-50.
วิไลวรรณ เพชรเศรษฐ์. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ.
อชิรญา จตุรภัทรไพบูลย์. (2563). การเสริมสร้างเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 15(2), 38-50.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. New Jersersy: Academic Press.
Covey S.R. (1989). The 7 Habits of Highly Effective People. New York: Free Press: A Division of Simmons and Schuster, Inc.
Locke, A. E., and Latham, P. G. (1990). A Theory of Goal Setting and Task Performance. Englewood Cliffs: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ