แนวทางการมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการอนุรักษ์ โบราณสถานเชิงพุทธในจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • พระครูวิสาลปุญญาภิวัต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • เบญจมาศ สุวรรณวงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การอนุรักษ์, โบราณสถาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการอนุรักษ์โบราณสถานเชิงพุทธ 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการอนุรักษ์โบราณสถานเชิงพุทธในจังหวัดสระแก้ว และ 3) เสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการอนุรักษ์โบราณสถานเชิงพุทธในจังหวัดสระแก้ว ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่วิจัย 4 อำเภอ คือ (1) อำเภอตาพระยา (2) อำเภอวัฒนานคร (3) อำเภอโคกสูง และ(4) อำเภออรัญประเทศ โดยมีการศึกษาเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม มีกลุ่มเป้าหมาย 30 รูป/คน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. สภาพปัญหาการมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการอนุรักษ์โบราณสถานเชิงพุทธ พบว่า 1) สภาพปัญหาด้านบุคคล การตัดสินใจ ไม่เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ขาดความศรัทธา การดำเนินกิจกรรมขาดการต่อเนื่อง 2) สภาพปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ ปัจเจกบุคคล ยึดความคิดเห็นตนเองเป็นสำคัญ ไม่มีศรัทธา 3) สภาพปัญหาด้านชุมชน ไม่มีความสามัคคี ขาดการเชื่อมโยงผู้นำชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 4) สภาพปัญหาด้านสังคม การไม่มีส่วนร่วม ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม และไม่มีการศึกษาเรียนรู้
          2. การมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการอนุรักษ์โบราณสถานเชิงพุทธใน จังหวัดสระแก้ว พบว่า 1) ระดับปัจเจกบุคคล การมีส่วนร่วมคิดการแสดงออกทางความคิดเห็นการมีส่วนร่วมทำ ชาวบ้านมาร่วมงาน การมีส่วนร่วมปฏิบัติในการบูรณะ 2) ระดับกลุ่มบุคคล ด้านร่วมคิดเป็นการการเข้าร่วมอภิปรายในการลงมือร่วมกัน การมีส่วนร่วมปฏิบัติมีส่วนร่วมในการปฏิบัติร่วมกัน 3) ร่วมระดับชุมชน การมีส่วนร่วมคิดเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมาร่วมกัน การช่วยเหลือเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และ 4) ระดับสังคม การมีส่วนร่วมคิด มีข้อมูล ความรู้ และความคิดเห็นที่เป็นความจริง
          3. แนวทางการมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการอนุรักษ์โบราณสถานเชิงพุทธในจังหวัดสระแก้ว มี 4 แนวทาง คือ 1) ด้านบุคคล การอบรมความรู้เพื่อให้ปัจเจกบุคคลเข้าใจ และมีความสามารถนำไปถ่ายทอดได้ การสร้างจิตสำนึก และการสร้างความศรัทธา 2) ด้านกลุ่มบุคคล การมีกลุ่มเรียนรู้ สามารถมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน การถ่ายทอดความรู้ และการรักษาฟื้นฟู 3) ด้านชุมชน การเข้าร่วมประชุมอภิปราย การสร้างองค์ความรู้ใหม่ เป็นการระดมความรู้ และการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม และ 4) ด้านสังคม การสร้างภาคีเครือข่าย การทำความตกลงเครือข่าย การทำประโยชน์ร่วมกัน สร้างความสามัคคี และการพัฒนาเครือข่าย

References

ราชบัณฑิต. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: บารมีพับลิเคชั่นส์.

สุวรรณ สุวรรณวโช. (2546). พื้นฐานความเชื่อของสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ.

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. (2550). แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานสำหรับพระสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด มหาชน.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2543). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28

How to Cite

พระครูวิสาลปุญญาภิวัต, รกฺขิตธมฺโม พ. ., & สุวรรณวงศ์ เ. . (2023). แนวทางการมีส่วนร่วมของพุทธศาสนิกชนในการอนุรักษ์ โบราณสถานเชิงพุทธในจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 8(2), 156–166. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/259586