การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องทวีปเอเชีย ที่สอนด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานกับการสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
คำสำคัญ:
ปัญหาเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์, สอนแบบปกติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง ที่สอนด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบผลการเรียนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มควบคุม สอนด้วยการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ที่สอนด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานกับการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องทวีปเอเชีย ที่สอนด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม จำนวน 84 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ t-test dependent sample, t-test Independent sample ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มควบคุม พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ทวีปเอเชีย ที่สอนด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษาที่สอนด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กนกวรรณ ไกรสุทธิ์. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนบ้านย่านตาขาว จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
ชไมพร เลากลาง, วาสนา กีรติจำเริญ, และ วิราวรรณ์ ชาติบุตร. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้พืชมีการตอบสนองและความสามารถ ในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 “การเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างศาสตร์ระดับบัณฑิตศึกษา” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา.
นิสา นามเดช. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ภูวนาท พูนสวัสดิ์. (2559). การเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน PBL(PROBLEM – BASED LEANING) ร่วมกับการใช้โปรแกรม DBOOK PRO กับห้องเรียนปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิภาพรรณ พินลา และวิภาดา พินลา. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุไม บิลไบ. (2558). สมรรถนะ ทักษะและบทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ: บทบาทครูในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ