การศึกษาเปรียบเทียบปัญญาบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์อนันต์กิตติ์ สจฺจญาโณ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาพจน์ สุวโจ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัญญาบารมี, พุทธศาสนาเถรวาท, พุทธศาสนามหายาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญญาบารมีใน พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาปัญญาบารมีในพระพุทธศาสนามหายาน และ 3) เปรียบเทียบปัญญาบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน งานวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร โดยสำรวจข้อมูลชั้นปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์เถรวาทและมหายาน และสำรวจข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากตำราวิชาการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ปัญญาบารมีในฝ่ายเถรวาท คือ ความรอบรู้ รู้ชัด รู้แจ้ง เป็นปัญญาที่พระโพธิสัตว์มุ่งบำเพ็ญเพื่อการตรัสรู้ และสั่งสอนสรรพสัตว์ให้เจริญในธรรม มีลักษณะเป็นความเข้าใจถึงความเป็นอนัตตาของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เกิดจากการบำเพ็ญปัญญาของพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติหลาย ๆ ชาติ เมื่อสมบูรณ์จริงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
          2. ปัญญาบารมีในฝ่ายมหายาน ใช้คำว่า “ปรัชญาปารมิตา” หมายถึง ความรู้แจ้งในปุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตา คือ ปัญญาในการหยั่งรู้ถึงความเป็นศูนยตาของสิ่งทั้งหลาย ที่พระโพธัตว์มุ่งบำเพ็ญมาจากในอดีตชาติ เมื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงมอบหนทางการหลุดพ้นให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ตราบจนวาระสุดท้ายเข้าสู่ปรินิพพาน
          3. ในประเด็นเปรียบเทียบ ความหมายของปัญญาบารมีในเถรวาทไม่ได้จำกัดความเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ยังใช้กับสาวกทั่วไป ส่วนมหายานจำกัดความแคบลงมาเฉพาะพระโพธิสัตว์เท่านั้น สำหรับปัญญาบารมีแบ่งออกเป็น 3 ระดับเหมือนกัน แต่ใช้เกณฑ์การแบ่งต่างกัน กล่าวคือ เถรวาทมุ่งบำเพ็ญปัญญาบารมีเพื่อเข้าสู่จุดหมายสูงสุดก่อนแล้วจึงช่วยเหลือผู้อื่น ส่วนมหายานจะมุ่งเน้นไปที่การบำเพ็ญปัญญาบารมีเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น จุดมุ่งหมายของการบำเพ็ญปัญญาบารมีทั้ง 2 นิกายนั้นเหมือนกัน ได้แก่ การบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง

References

คณะสงฆ์จีนนิกาย. (2531). พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพพิมพ์เป็นธรรมบรรณนาการ.

พระมหาวิชาญ กำเนิดกลับ. (2549). การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร. ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2543). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2557). อรรถกถา ภาษาไทย. กรุงเทพหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์. (2539). พระพุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28

How to Cite

สจฺจญาโณ พ. ., สุวโจ พ. ., & ยุตฺติธโร พ. . (2023). การศึกษาเปรียบเทียบปัญญาบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน . วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 8(2), 200–210. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/261617