การพัฒนารูปแบบการแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้วยยุทธศาสตร์เชิงรุก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การแนะแนวการศึกษา, ยุทธศาสตร์เชิงรุกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ด้วยยุทธศาสตร์เชิงรุกมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ด้วยยุทธศาสตร์เชิงรุก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ที่มีประสิทธิผล
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการดำเนินการให้บริการแนะแนวการศึกษา มีองค์ประกอบของรูปแบบเชิงระบบ ที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์เชิงรุก คือ ด้านปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต ผลการสัมภาษณ์และจากการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 9 รูป/คน และจากการประเมินคุณภาพรูปแบบการพัฒนารูปแบบการแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ด้วยยุทธศาสตร์เชิงรุก คือคุณภาพของรูปแบบการแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ด้วยยุทธศาสตร์เชิงรุก มีความทันสมัยและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ด้วยกระบวนการทำงานของรูปแบบ “PDCA” ที่มหาวิทยาลัยยึดเป็นหลักวงจรบริหารงานคุณภาพอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผล
References
ไกรสิงห์ สุดสงวน. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมนุษศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 201-207.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อสาขาวิชาชีพครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 11(52), 139-148.
จุฑามาศ ชูจินดา. (2558). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 9(2), 66-77.
ธนวรรณ รักอู่. (2557). การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีของนักศึกษาภาคปกติ ปีการศึกษา 2556. รายงานการวิจัย. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ปฐมา อาแว และนิยาวาเฮร์ ไพบูลย์. (2562). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี. รายงานการวิจัย. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไพรินทร์ สระแก้ว. (2556). แรงจูงใจในการศึกษาต่อของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม.
อริสรา บุญรัตน์. (2558). แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(1), 77-85.
วรอัปสร บุบผา. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อิศราภรณ์ ขวัญใจ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและแนวโน้มการศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของนักศึกษาปริญญาตรี. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Maslow. (1954). Introduction to the Foundations of Education. New Jersey: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ