การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโชคชัย สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ปัทมาพร บุญศรี มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, บุคลากร, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, เครือข่าย, กิจกรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโชคชัย สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาข้อเสนอการพัฒนาการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโชคชัย สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรวจ 1 คน นักวิชาการศึกษา 1 คน หัวหน้าสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโชคชัย 1 คน ครูผู้ดูแลเด็ก 6 คน ผู้ปกครองเด็ก 16 คน และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโชคชัย สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ 15 คน รวมประชากรทั้งสิ้น จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า
          การบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโชคชัยโดยรวม ด้านการบริหารจัดการทั่วไป ด้านบุคลากร ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง แนวทางการพัฒนาการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโชคชัย มีแนวทางการพัฒนา 1) ด้านการบริหารทั่วไป ควรพัฒนาสนามเด็กเล่นให้มีอุปกรณ์ที่เสริมสร้างพัฒนาการของเด็กอย่างเพียงพอ ปรับปรุงกระบวนการสื่อสารข้อมูล มีการวางแผนการดำเนินงานร่วมกันผู้เกี่ยวข้อง และบุคคลภายนอก เพื่อร่วมในการทำกิจกรรม ควรจัดให้มีการประเมินผลการทำงาน และนิเทศงานอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านบุคลากร ควรมีการปรับปรุงการคัดเลือกครูให้มีจำนวนที่เหมาะสมกับเด็ก โดยการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของครู 3) ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ควรมีการปรับปรุงรั้วมีรั้วรอบขอบชิด ซ่อมแซมหลังคา ฝ้าที่ชำรุด และปรับปรุงทางเดินให้มีหลังคาสำหรับเด็กไปโรงอาหาร 4) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ควรจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาให้สอดคล้องกับหลักสูตร และพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย จัดกิจกรรมส่งเสริมการอบรมเลี้ยงดูเด็กตามวิถีชีวิตบริบทชุมชน โดยประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัวและชุมชนในการพัฒนาเด็ก  5) ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็ก โดยขอความร่วมมือจากชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6) ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ควรสร้างเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัยกับพื้นที่อื่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูควรมีการกระตุ้นให้เด็กสนใจในกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครอง

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น: กระทรวงมหาดไทย.

จันทิมา จันทร์สุวรรณ. (2558). การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนาภา อิ่มเงิน. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการจัดการ) สำหรับนักบริหาร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐปภัสร์ มาเวหา และนิคม นาคอ้าย. (2564). การศึกษาสภาพการบริหารจัดการตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก. วารสารร้อยแก่นสาร, 6(1), 65-77.

ธิราภรณ์ มากมี. (2563). การศึกษาปัญหาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย. วารสารครุพิบูล, 7(2), 284-294.

บรรพต บัวผัด. (2564). การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดลำพูน .วารสารสังคมศาสตร์และมานษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 290-305.

ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รัตนา พานิชย์. (2563). เรื่อง สภาพปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(3), 132-139.

ลภัตสดา นราพงษ์. (2560). แนวทางการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2560). การบริหารการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(2), 36-48.

อัญชลี หลักชัย. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการศูนย์เด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดอุดรธานี. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28

How to Cite

บุญศรี ป. . (2023). การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโชคชัย สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 8(2), 273–287. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/263718