ศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติหลักภิกขุอปริหานิยธรรม ของพระสงฆ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
การปฏิบัติ, ภิกขุอปริหานิยธรรม, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปฏิบัติหลักภิกขุอปริหานิยธรรมของคณะสงฆ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) วิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักภิกขุอปริหานิยธรรมของพระสงฆ์ในสังคมไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก คัมภีร์พระพุทธศาสนา เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา พร้อมเอกสารวิชาการเกี่ยวกับอปริหานิยธรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การปฏิบัติหลักภิกขุอปริหานิยธรรมของคณะสงฆ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เป็นธรรมะเพื่อความเจริญอย่างเดียว ส่งเสริมการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำให้เกิดขึ้นในคณะสงฆ์ ไม่ว่าจะเรื่องประชุม เลิกประชุม ต้องพร้อมเพียงกัน เพราะการงานในพระพุทธศาสนาจะต้องรับผิดชอบด้วยกันช่วยกันคิดช่วยกันทำในสิ่งที่ถูกต้อง จะต้องพร้อมเพรียงกันกระทำให้อยู่ในระเบียบวาระประชุม ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น หลักการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่มีการบัญญัติเพิ่มเติม ไม่มีการแก้ไข เพราะเป็นบัญญัติที่ออกมาด้วยพระญาณหยั่งรู้ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต ตามหลักของการปฏิบัติของพระพุทธเจ้า
2. วิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักภิกขุอปริหานิยธรรมของพระสงฆ์ในสังคมไทย การเชื่อฟังในเรื่องที่ถูกต้องตามกรอบพระธรรมวินัยนั้น มีความเคารพ อ่อนน้อมถ่อมตน นับถือภิกษุ ผู้เป็นใหญ่ ถ้าพระภิกษุผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยในประเด็นที่ประชุมก็สามารถอธิบายเชิงปรึกษาหารือตามหลักเหตุผลได้ ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น มีศีลค่อยตรวจสอบกาย วาจา ให้ระวังสิ่งที่มายั่วยุ จากอายตนะภายใน อายตนะภายนอก สมาธิและปัญญาเป็นภูมิคุ้มกัน ไม่ให้ความอยากมาครอบงำ และอยู่ในเสนาสนะป่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดความสงบ อากาศบริสุทธิ์ สุขภาพแข็งแรง ถ้าหากว่ามีเสียงรบกวนมากก็อย่าไปใส่ใจ ปล่อยวาง หนักแน่นมีสติและปัญญา ไตร่ตรองในเรื่องนั้นก็จะพบความสุขทั้งกายและใจในการดำเนินชีวิตของพระสงฆ์ พร้อมต้อนรับภิกษุสามเณร ที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข พระภิกษุสามเณรทุกรูปที่บวชมาถูกต้องตามพระธรรมวินัย มีศีลเสมอกัน ปฏิบัติตามกฎระเบียบเหมือนกัน การไม่เห็นแก้ตัว เปิดใจกว้าง ๆ ความไม่หวงที่อยู่ไม่มีอิจฉาริษยา เอื้อเฟื้อแบ่งปันกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
References
กนก จันทร์ขจร. (2549). ธรรมเพื่อชีวิต. กรุงเทพมหานคร: หจก.จิรรัชการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม). (2552). รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). ไอทีภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ. (2562). การปกครองคณะสงฆ์ไทยในยุคปฏิรูปไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการ มจรบุรีรัมย์, 4(2), 87-103.
พระขจรศักดิ์ กิตฺติวุฑโฒ. (2562). การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 2(2), 17-24.
พระมหาประกอบ กิตฺติญาโณ (อิ่มจิตร), จรัส ลีกา. (2564). การพัฒนาสังคมในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(2), 47.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ส.รัตนรติ. (2522). หลักธรรมสำคัญสำหรับชาวพุทธ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และประชาชน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ