การวิเคราะห์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา
คำสำคัญ:
ความรู้ทางพระพุทธศาสนา, คัมภีร์มิลินทปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา โครงสร้างและเนื้อหาใคัมภีร์มิลินทปัญหา 2) ศึกษาความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา 3) วิเคราะห์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้เหตุผลและให้เหตุผล แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. มิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์ปกรณ์วิเสสที่อธิบายข้อธรรมบางข้อ ซึ่งมีโครงสร้างอยู่ 6 ส่วน คือ 1) บุพพกรรมและประวัติของพระนาคเสนและพระเจ้ามิลินท์ 2) ปัญหาเงื่อนเดียว 3) ปัญหาสองเงื่อน 4) เรื่องที่รู้โดยอนุมาน 5) ลักษณะแห่งธรรมต่าง ๆ 6) เรื่องที่จะพึงทราบด้วยอุปมา โดยมีลักษณะการถาม-ตอบปัญหาในคัมภีร์มิลินทปัญหาดังที่กล่าวแล้ว
2. ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหาเป็นรูปแบบของการแสวงหาทฤษฎีความรู้ตามแนวพุทธปรัชญามี 4 ข้อ คือ 1) ปัญญามองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น 2) ปัญญารู้เท่าทันสังขาร ธรรมดาว่าสังขารมีทั้งที่ประกอบด้วยสังขารที่ถูกปรุงแต่งและไม่ถูกปรุงแต่ง 3) ปัญญารู้เท่าทันสมมติบัญญัติ 4) ปัญหาในเรื่องสมมติบัญญัติเป็นปัญหาที่สร้างความสับสนให้การยึดติด และความรู้มี 4 ระดับ คือ 1) ความรู้ระดับวิญญาณ 2) ความรู้ระดับสัญญา 3) ความรู้ระดับทิฏฐิหรือมโนภาพ 4) ความรู้ระดับอภิญญา
3. การวิเคราะห์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา ทำให้ทราบว่า การอาศัยเพียงความเชื่อเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ถึงจุดสูงสุดคือนิพพานได้ แต่ยังต้องอาศัยความรู้ที่ทางพุทธปรัชญาเรียกว่า ปัญญา ด้วย ฉะนั้น พื้นฐานความรู้ทางพระพุทธศาสนา คือ ปัญญาที่ถูกฝึกฝนและอบรมดีแล้ว แต่คำว่า “ปัญญา” เป็นคำกลาง ๆ เพราะความรู้มีหลายขั้นหลายระดับ และมีคำศัพท์หลายคำที่ใช้ในความหมายจำเพาะ เช่น ญาณ วิชชา วิปัสสนา สัมปชัญญะ ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา เป็นต้น
References
บุญมี แท่นแก้ว. (2543). ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระมหามานพ กฺวิวํโส (นักการเรียน). (2535). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องญาณวิทยา ในพุทธปรัชญา. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาพุทธศาสนาและปรัชญา: สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543.) พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2554). พุทธญาณวิทยา. กรุงเทพมหานคร: หจก. เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
วศิน อินทสระ. (2528). อธิบายมิลินทปัญหา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฺฐายีมหาเถร). (2470). มิลินทปัญหา ฉบับโรงพิมพ์ไท. พระนิพนธ์คำนำ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ