การวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องกรรมของคนไทยในยุคปัจจุบัน ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระปรเมษฐ์ กิตฺติคุโณ (คำหงษา) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูสีลสราธิคุณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สงวน หล้าโพนทัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาความเชื่อเรื่องกรรมของคนไทยในยุคปัจจุบัน 2) ศึกษากรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) วิเคราะห์ความเชื่อเรื่องกรรมของคนไทยในยุคปัจจุบันตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทวาท เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก เป็นต้นแล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
          ผลการวิจัยพบว่า
         1.  คนไทยในยุคปัจจุบันได้มีความเชื่อเรื่องกรรมมีนัยต่าง ๆ ที่ผิดไปจากคำสอนหลักเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา เช่น คนไทยบางกลุ่มในสมัยปัจจุบันมีความคิดและความเชื่อว่า บาป บุญ คุณ โทษ หรือบุญคุณไม่มี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีว่ากรรมที่ทำแล้วไม่มีผลติดตัวไปในภพหน้าชาติหน้า โดยเชื่อว่าสิ่งที่ทำแล้วทั้งดีและชั่วก็เป็นอันจบกันไปหลังจากได้กระทำเสร็จไปแล้ว
          2. หลักกรรมในพระพุทธศาสนาสอนว่า กรรมคือการกระทำของแต่ละบุคคล ทั้งที่เป็นกุศลคือกรรมดี และอกุศลคือกรรมชั่ว ไม่ว่ากรรมนั้นจะดีหรือชั่ว ผู้ทำกรรมย่อมได้ผลของกรรมนั้น เมื่อมีความเชื่อเรื่องกรรมแล้ว ไม่ว่ากรรมที่ทำนั้นจะไปเป็นกรรมดีหรือไม่ดีก็ตามย่อมให้ผลตามมาทั้งนั้น ถ้าทำกรรมดีจะไปเกิดในสวรรค์ แต่ถ้าทำกรรมชั่วจะไปเกิดในนรกเช่นกัน
          3. การวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องกรรมของคนไทยในปัจจุบันช่วยให้ทราบว่า คนไทยในสมัยปัจจุบันจะมีความเข้าใจในหลักแห่งความดีความชั่วหรือสิ่งดีสิ่งไม่ดีที่ตรงตามหลักกรรมในทางพระพุทธศาสนาได้กระจ่างชัดขึ้น มีความเชื่อเกี่ยวกับผลแห่งการกระทำของแต่ละบุคคลที่ได้กระทำอะไรลงไปทั้งดีชั่วและสิ่งดีสิ่งไม่ดีว่าจะมีผลสะท้อนย้อนกลับถึงกระทำอย่างแน่นอน ไม่มีใครสามารถหลีกหนีผลกรรมที่แต่ละคนกระทำไปได้อย่างเด็ดขาด

References

พระเทพเวที (ประยุทธ ปยุตฺโต). (2513). กรรมตามนัยแห่งพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2544). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง. พิมพ์ครั้งที่ 60. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2549). กรรมและนรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 36. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ผลิธัมม์.

พระมหาพิเชษฐ์ ธีรวํโส (ดอกรัก). (2534). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องกรรมและสังสารวัฏในพุทธปรัชญาเถรวาท ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสรณ์สิริ ปชฺชลิโต (โททอง). (2552). ทัศนคติเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาดารานักแสดงและนักร้องสถานีวิทยุโทรทัศน์ทีวีสีช่อง 3. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาประศักดิ์ อคฺคปญฺโญ (ชั่งแสง). (2541). ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์กับกฎ แห่งกรรมของชาวพุทธไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอุทัย จิรธมฺโม (เอกสะพัง). (2543). ทัศนะเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และปัญหาเรื่องกรรมในสังคมชาวพุทธไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2550). อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองวิริยะพัฒนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28

How to Cite

กิตฺติคุโณ (คำหงษา) พ. ., พระครูสีลสราธิคุณ, & หล้าโพนทัน ส. . (2023). การวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องกรรมของคนไทยในยุคปัจจุบัน ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท . วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 8(2), 343–356. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/265232