ผลการจัดการเรียนรู้หน่วยทัศนธาตุ โดยใช้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก ที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ , การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยทัศนธาตุโดยใช้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้หน่วยทัศนธาตุโดยใช้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงาน ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 29 จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยทัศนธาตุโดยใช้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก จำนวน 1 แผน 2) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงาน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้หน่วยทัศนธาตุโดยใช้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยทัศนธาตุโดยใช้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 71/80 ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้หน่วยทัศนธาตุ โดยใช้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 44 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.75
References
กรกนก เลิศเดชาภัทร, ชาตรี ฝ่ายคําตา และจีระวรรณ เกษสิงห์. (2565). การประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(1), 56-65.
ฐิติกานต์ แก้ววิเศษ. (2565). การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยแบบเชิงรุกโดยใช้วรรณคดีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 17(3), 67-80.
ณชนก หล่อสมบูรณ์ และโสมฉาย บุญญานันต์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(4), 166-181.
ดนิตา ดวงวิไล, สุขิริณณ์ อามาตย์บัณฑิต และอัฐพล อินต๊ะเสนา. (2562). การพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกลุ่มศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ท่าสองคอน-แก่งเลิงจาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 75-92.
ภัณฑิรา ศรีใจ และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงจำนวน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 17(2), 199-212.
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 29 จังหวัดศรีสะเกษ. (2565). รายชื่อนักศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 29 จังหวัดศรีสะเกษ. อัดสำเนา.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ดิเรก ศรีสุโข และทวีวัฒน์ ปิตยานนท์. (2535). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุนทรี ทมกระโทก และศิริพงษ์ เพียศิริ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ เรื่อง ศิลป์สร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ 5Es ร่วมกับเทคนิคการสอนโดยใช้เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(79), 151-157.
สุริตา ทองขาว. (2565). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาการอ่านสะกดคำ. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชธานี.
อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2555). ทักษะการคิด: พัฒนาอย่างไร. กรุงเทพฯ: อินทร์ณน.
Douglas, K., & Jaquith, D. (2018). Engaging Learners through Artmaking: Choice-Based Art Education in the Classroom (TAB). Second Edition. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=ED581779 (Accessed 12 February 2023).
Joo, Y. (2014). Teaching Strategies for implementing Choice-Based Art Curriculum. Retrieved from https://scholarworks.gsu.edu/cgi/viewcontent. cgi?article=1179&context=art_design_theses (Accessed 12 February 2023).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ