พระธรรมเทสนาอุณหิสสวิชัยคัมภีร์ใบลานอักษรขอมภาษาขแมร์: คุณค่าในเชิงวรรณกรรมและต่อพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ต่ออายุชุมชนอีสานใต้
คำสำคัญ:
พระธรรมเทสนาอุณหิสสวิชัย, คัมภีร์ใบลานอักษรขอมภาษาขแมร์, คุณค่าเชิงวรรณกรรม, พีธีกรรมสะเดาะเคราะห์ต่ออายุ, ชุมชนอีสานใต้บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอคุณค่าที่ปรากฏในพระธรรมเทสนาอุณหิสสวิชัยคัมภีร์ใบลานอักษรขอมภาษาขแมร์ในเชิงวรรณกรรมและต่อพีธีกรรมสะเดาะเคราะห์ต่ออายุชุมชนอีสานใต้ ความเป็นมาคัมภีร์ใบลานนี้ไม่ระบุชื่อผู้แต่ง วัน เดือน ปี ในการแต่ง ปัจจุบันถูกเก็บอยู่ที่วัดชัยมงคลมุนีวาส ตำบลตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ลักษณะคำประพันธ์ เป็นแบบร้อยแก้วประเภทวรรณกรรมพระพุทธศาสนาผสมผสานกับวรรณกรรมคำสอนสอน กลวิธีการแต่งแบบเรียบง่ายไม่ซับซ้อน สำนวนภาษาแบบบรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร อุปมาโวหาร สาธกโวหาร และเทศนาโวหาร
เรื่องย่อได้เล่าถึงพระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีเทพบุตรตนหนึ่งชื่อ “สุปติทิตเทพบุตร” รู้ว่าอีก 7 วัน ตนเองจะหมดบุญจุติจากสวรรค์ไปเกิดในรก พ้นจากนรกก็มาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน และเกิดเป็นมนุษย์ตาบอด หูหนวก เมื่อรู้เช่นนั้นก็มีจิตหดหู่ จึงเข้าไปทูลขอให้พระอินนทร์ช่วยแต่ไม่สามารถช่วยได้พระอินทร์จึงนำสุปติทิตเทพบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงบุพกรรมของสุปติทิตเทพบุตรให้ทราบและแสดง“อุณหิสสวิชยถาคา” พร้อมตรัสว่าหากเทพทั้งหลายอยากมีอายุยืนยาวให้สวดสาธยายคาถานี้ และในคัมภีร์ใบลานฉบับนี้ได้มีการบันทึกเกี่ยวกับระเบียบการทำพิธีกรรมต่ออายุไว้ด้วย
แนวคิดและจุดมุ่งหมายของผู้เขียนที่ฝากไว้ คือ ให้เว้นปฏิบัติหลักธรรมฝ่ายอกุศลมูลและให้ปฏิบัติตามหลักธรรมฝ่ายกุศลมูล จุดมุ่งหมาย คือเพื่อเป็นเครื่องมือเผยแผ่พระพุทธศาสนาและเป็นเครื่องมือประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา คุณค่าพระธรรมเทสนาอุณหิสสวิชัยฯ คือ มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ ด้านเนื้อหา ด้านสังคม และด้านการประยุกต์ใช้ในพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ต่ออายุชุมชนอีสานใต้
References
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2565). วรรณกรรมพระพุทธศาสนา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โครงการหอคัมภีร์และวรรณกรรมโบราณอีสาน. (2566). พระธรรมเทสนา เรื่อง อุณหิสสวิชัย (ฉบับแปลจากอักษรขอมภาษาขะแมร์). หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตและพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์สุรินทร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์.
นงเยาว์ ชาญณรงค์, (2553). วัฒนธรรมศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระราชวัชรรังสี (เอี่ยม สิริวณฺโณ). (2562). มนต์พิธี สำหรับพระภิกษุสามเณรและพระพุทธศาสนาในอีสานใต้. ประกอบรายวิชา: พระพุทธศาสนากับวรรณกรรมท้องถิ่น ณ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช.
พระราชปริยัติวิมล (ศรีสุระ) และวิเชียร แสนมี. (2561). คาถาอุณหิสสวิชัยศักดิ์สิทธิ์:ต่ออายุป้องกันภัย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 2(1), 34.
ภูมิจิต เรืองเดช. (2566). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในอีสานใต้. ประกอบรายวิชาพระพุทธศาสนากับวรรณกรรมท้องถิ่น: ณ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช.
วัดชัยมงคลมุนีวาส, (ม.ป.ป.). พระธรรมเทสนา เรื่อง อุณหิสสวิชัย. คัมภีร์ใบลานอักษรขอมภาษาขแมร์. หมู่ 1 ตำบลตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. สำรวจ ณ วันที่ 1 กันยายน 2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ