การส่งเสริมความเป็นพลเมืองตามหลักคารวะธรรม 6 ของประชาชน เทศบาลตำบลวังหิน อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พระอานนท์ ธมฺมครุโก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • เวชสุวรรณ อาจวิชัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การส่งเสริมความเป็นพลเมือง, หลักคารวะธรรม 6, ประชาชน

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมความเป็นพลเมืองตามหลักคารวะธรรม 6 ของประชาชน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นการส่งเสริมความเป็นพลเมืองตามหลักคารวะธรรม 6 ของประชาชน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ และ 3) เสนอแนวทางในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองตามหลักคารวะธรรม 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 347 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .86
             ผลการวิจัยพบว่า:
             1. ระดับการส่งเสริมความเป็นพลเมืองตามหลักคารวะธรรม 6 ของประชาชน เทศบาลตำบลวังหิน อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านสังคม รองลงมา ด้านเศรษฐกิจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการเมืองการปกครอง
             2. ผลการเปรียบเทียบระดับการส่งเสริมความเป็นพลเมืองตามหลักคารวะธรรม 6 ของประชาชน จำแนกตามเพศและพระดับการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุและอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
             3. ข้อเสนอแนะและแนวทางในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองตามหลักคารวะธรรม 6 ของประชาชน พบว่า ประชาชนสามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมให้เป็นปกติเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งที่เป็นปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พอใจ และประชาชนควรมีจิตสาธารณะทำให้ทุกคนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้ คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ซึ่งต้องขับเคลื่อนทั้งระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยเรียน เพราะงานอาสาและจิตสาธารณะเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังอย่างต่อเนื่อง

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พระชวลิต ปญฺญาวชิโร (แสงบุญเรือง). (2561). การพัฒนาพลเมืองเชิงพุทธบูรณาการของหมู่บ้านสามขา อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสนามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรี ศิลารัตน์, พระอุดมเกียรติวิสุทฺธาจาโร, จิตรลดา ศิลารัตน์ และปิยะสุดา เพชราเวช. (2558). การส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของเยาวชนในสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางโดยใช้คารวธรรม สามัคคีธรรม ปัญญาธรรม. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 146-157.

บุญส่ง นาแสวง. (2563). การเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีของเยาวชนตามหลักพุทธธรรมของพระสอนศีลธรรม. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปิ่น มุทุกันต์. (2535). มงคลชีวิต ภาค 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

รัชเกล้า กองแก้ว. (2560). ความเป็นพลเมืองไทย : แนวคิดพื้นฐานในการขับเคลื่อนสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิชาการครองกันประเทศ.

รัชตา คำเสมานันทน์. (2562). การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบลในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3 (2), 659-674.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26

How to Cite

ธมฺมครุโก พ. ., & อาจวิชัย เ. . (2023). การส่งเสริมความเป็นพลเมืองตามหลักคารวะธรรม 6 ของประชาชน เทศบาลตำบลวังหิน อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 8(3), 215–224. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/267319