การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมประเพณีชักพระ และการทอดผ้าป่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • โยธิน มาศสุข มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • พระมหาประทิ่น เขมจารี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • พระมหาอดิศักดิ์ ฉีดอิ่ม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • พระมหาอภิพงค์ คำหงษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • แสงสุรีย์ ทองขาว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ประเพณี, ชักพระ, ทอดผ้าป่า

บทคัดย่อ

             แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการศึกษาทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ซึ่งผสมผสานทั้งภูมิปัญญาดั้งเดิม วิถีชุมชน สภาพสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการดำเนินชีวิตของผู้คน และเป็นการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ตามไปด้วย อาทิเช่น ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม หัตถกรรม อาหาร ศิลปะ ภาษา รวมไปถึงสถาปัตยกรรม ประติมากรรมอีกด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นอีกจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของไทย ที่มีประเพณี และพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจังหวัด อย่างเช่นประเพณีชักพระและทอดผ้าป่า คาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยอดีตในยุคอาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรือง และในปัจจุบันกลายมาเป็นประเพณีงานบุญที่สำคัญและยิ่งใหญ่ ถือเอาวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 11 อัญเชิญพระพุทธรูปให้พุทธศาสนิกชนชักลากแห่ไปบำเพ็ญกุศล และสมโภชเพื่อความเป็นสิริมงคล เรียกว่า "ชักพระทางบก" และ "ชักพระทางน้ำ" และมีการทอดผ้าป่าร่วมด้วยจนกลายเป็นงานประเพณีชักพระและทอดผ้าป่าของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี และควรแก่การอนุรักษ์หวงแหนสืบทอดรักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2538). การวัฒนธรรมศึกษากระบวนการบริหารและจัดการวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทประชาชน.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2548). ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ฐิรชญา มณีเนตร. (2552). ไทยศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ประภาศรี สีหอำไพ. (2538). วัฒนธรรมทางภาษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาฐิติพงศ์ ชูจิตต์. (2561). บทบาทของพระสงฆ์ต่อการมีส่วนร่วมในการสงวนรักษาประเพณีชักพระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพียงใจ พร้อมมูล, มณฑิรา รอดเจริญ และมยุรี เผือคง. (2529). ประเพณีการชักพระของภาคใต้และประเพณีการชักพระของจังหวัดสุราษฎรธานี. วารสารศรีวิชัย, 5(5), 161-165.

รัชนีกร เศรษโฐ. (2532). โครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิจิตรา ขอนยาง. (2532). การศึกษาประเพณีจากวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

สมชัย ใจดี และยรรยง ศรีวิริยาภรณ์. (2536). ประเพณีและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สัญญา วัชรพันธ์. (2535). วัฒนธรรมที่ปรากฏในพระเพณีลากพระเดือน 11 ของชาวนครศรีธรรมราช. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุธิวงศ์ พงค์ไพบูลย์. (2529). "เรือพระ". สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. 2529 (เล่มที่ 8). สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุพัตรา สุภาพ. (2541). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26

How to Cite

มาศสุข โ., เขมจารี พ., ฉีดอิ่ม พ., คำหงษา พ. ., เศวตวรโชติ ท. ., & ทองขาว แ. (2023). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมประเพณีชักพระ และการทอดผ้าป่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 8(3), 415–429. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/267394