การจัดการเรียนรู้เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย, การเรียนรู้แบบร่วมมือบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) พัฒนาผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 17 คน วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ใช้เวลา 7 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Team Games Tournament (TGT) (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pretest Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติ t-test แบบ dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการจัดการเรียนรู้เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค Team Games Tournament (TGT) ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นเพิ่มขึ้นทบทวนความรู้ที่ครูสอนอย่างตั้งใจ และช่วยเหลือกันและกันในกลุ่ม ยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นมากขึ้น มีความพยายามที่จะทำให้ทีมตนเองประสบความสำเร็จในการแข่งขันกัน
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Team Games Tournament (TGT) อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (= 4.39)
References
กรมวิชาการ. (2544). การเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จันทราภรณ์ คำแก้ว. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT เรื่อง พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2556). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง Civic Education for Thai Society. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เพรส จำกัด.
ธัญชนก สิงห์ทอง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT เรื่อง ทวีปเอเชียของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เนาวรัตน์ ศิริรักษ์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและทักษะกระบวนการกลุ่ม เรื่อง เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ประภา ทันตศุภารักษ์. (2558). ความเป็นพลเมืองโลก. วารสารการศึกษาไทย, (127), 22-24.
สุพิชญนันทน์ ถือชัย. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดการเรียนร่วมกับวิธีการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคกลุ่มแข่งขัน (TGT). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
Arnaud Castaignet. (2019). Techsauce Global Summit 2019: Bridges over boundaries: Are we in an era of Global Citizenship?. Available. Retrieved from https://techsauce.co/saucy-thoughts/globalcitizen-tsgs19 (Accessed 4 July 2019).
Johnson, D. W. ; Johnson, R.T. and Holubec, E. J. (1994). The Nuts and Bolts of Cooperative Learning. Minnesota: Interaction Book Company.
Ronald, Brandt S., Ed. (1991). Cooperative Learning and Cooperative School: Reading from Educational Leadership. Association for Supervision and Curriculum Development, Virginia.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ