การจัดการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ด้วยวิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง ร่วมกับการบูรณาการสอดแทรก
คำสำคัญ:
ศาสนากับการดำเนินชีวิต, กรณีตัวอย่าง, การบูรณาการสอดแทรก, การจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ด้วยวิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างร่วมกับการบูรณาการสอดแทรก 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ด้วยวิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างร่วมกับการบูรณาการสอดแทรก 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบกรณีตัวอย่างร่วมกับการบูรณาการสอดแทรก เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับประกาศนียบัตร แผนกวิชาธุรกิจค้าปลีกและการตลาด จำนวน 17 คน วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างร่วมกับการบูรณาการสอดแทรก จำนวน 5 แผน 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบจำนวน 25 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องศาสนากับการดำเนินชีวิต ด้วยวิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างร่วมกับการบูรณาการสอดแทรก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์โดยการทดสอบ t - test
ผลการศึกษาพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ด้วยวิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างร่วมกับการบูรณาการสอดแทรก ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์และการอภิปรายสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น ได้สังเคราะห์และประเมินแนวทางการตอบสนองต่อเหตุการณ์สมมติอย่างมีหลักการ ได้พัฒนามุมมองความคิดของตนเองจากการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดของผู้อื่น อีกทั้งช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์คำตอบที่หลากหลายได้ ทำให้ผู้เรียนกล้าคิดกล้าเปิดเผยมุมมองของตนเอง ทำให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลตามเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้ เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ด้วยวิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างร่วมกับการบูรณาการสอดแทรก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ศาสนากับการดำเนินชีวิต โดยใช้กรณีตัวอย่างร่วมกับการบูรณาการสอดแทรก พบว่า อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (= 4.46)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรวิชาสามัญในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2545. ม.ป.ท.
กนกวรรณ นิสสัย. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนสฤษดิ์เดช จังหวัดจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). ศิลปะการสอน เพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วีพรินทร์.
ณัชชา โคตรสินธุ์. (2550). ผลของการสอนแบบอริยสัจสี่โดยใช้กรณีตัวอย่างที่มีต่อทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (2551). 5 มีนาคม 2551. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 43 ก. หน้าที่ 1-24.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันเพ็ญ สุลง. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์วิชาการบริหารงานคุณภาพในองค์การ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการหลักสูตรและการสอน. วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ