Book Review RELIGION SOCIETY

Authors

  • Phramaha Chotniphitphon Suttajitto Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Surin Campus
  • Phrakrubaidika Weang Kitiwanno Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Surin Campus
  • Phatchawat Suksen Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Surin Campus

Abstract

             หนังสือเรื่อง “ศาสนากับสังคม” ที่ผู้เขียนสนใจและนำมาวิจารณ์ต่อไปนี้เป็นหนังสือประกอบการสอนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งผู้เขียนโดย รศ.นงเยาว์ ชาญณรงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เขียนเพื่อการเรียนการสอน ศาสนากับสังคม (PY 446) นี้เป็นวิชาที่เปิดสอนเพื่อมุ่งเน้น ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในศาสนาสำคัญต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลในสังคมอันจะเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการดำเนินชีวิตและการร่วมสังคม การร่วมงาน กับผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ๆ ทำให้เกิดการเข้าใจการสมานท์ และประสานประโยชน์กันได้อย่างดี ในการศึกษาวิชานี้สอนให้ผู้เรียนศึกษาศาสนาต่าง ๆ ด้วยใจเป็นกลาง มองศาสนาในแง่มุมใหม่ โดยใช้สหวิทยาการมาศึกษาวิเคราะห์ในฐานะที่พฤติกรรมการแสดงออกแห่งความเชื่อถือศรัทธาในศาสนาต่าง ๆ เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม มิได้มุ่งเปรียบเทียบหลักธรรมคำสอนแต่มุ่งเน้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ด้วยใจเป็นกลาง วิชาศาสนากับสังคมได้เปิดสอนในมหาวิทยาลัยรามคำแหง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 (นงเยาว์ ชาญณรงค์, 2542: คำนำ) เป็นวิชาเลือกเสรีที่มีนักศึกษาสนใจเรียนตลอดมาทุกเทอม กระบวนวิชา ศาสนากับสังคม เป็นรายวิชาที่ศึกษาศาสนาในแง่ใหม่ คือศึกษาในฐานะที่เป็นสถาบันที่สำคัญของสังคม มีอิทธิพล บทบาท และผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสังคม ศึกษาศาสนาในแง่ที่เป็นปรากฏการณ์ของสังคม ศึกษาวิเคราะห์ศาสนาและสังคมที่เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนานั้น ๆ โดยใช้หลักการพิจารณาด้านประวัติศาสนา สังคมวิทยาศาสนา จิตวิทยา มานุษยวิทยา วัฒนธรรมวิทยา และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมที่ศาสนามีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย การศึกษาวิชานี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาและผู้สนใจทั่วไป ในการเข้าใจและพิจารณา มองศาสนาในอีกแง่หนึ่งซึ่งมีชีวิตชีวา และมีอิทธิพลทั้งทางโดยตรง โดยอ้อมโดยเปิดเผย และแฝงเร้นต่อมนุษย์ คำอธิบายรายวิชา ศึกษาแหล่งกำเนิดและวิวัฒนาการของศาสนาต่าง ๆ ขอบข่ายและเนื้อหาของการศึกษา ศึกษาศาสนาในฐานะที่เป็นสถาบันของสังคม ศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบต่าง ๆ ของศาสนา ในแง่ที่เป็นพฤติกรรมและปรากฏการณ์ของสังคมศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับสังคม เกี่ยวกับบทบาทอิทธิของศาสนาที่มีต่อสังคม ทำให้มีผลต่อสมาชิกในสังคม เกิดพฤติกรรม การเจริญ การเสื่อม การเปลี่ยนแปลง และวิวัฒนาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ และมีอิทธิพลต่อกันกับสถาบันอื่น และองค์ประกอบอื่น ๆ ของสังคม เป็นการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ของศาสนาในแง่มุมต่าง ๆ ของสังคม และพฤติกรรมของมนุษย์ ในหนังสือได้เขียนสารบัญทั้งหมด 11 บท ทั้งนี้ได้มีบทบรรณานุกรมของการอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการไว้ด้วย

References

บุญมี แท่นแก้ว. (2545). พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

นงเยาว์ ชาญณรงค์. (2542). ศาสนากับสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน 2542. (2542). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ.

สุชา จันทร์เอมและสุรางค์ จันทร์เอม. (2520). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.

เสถียร พันธรังสี. (2513). ศาสนาเปรียบเทียบ. พระนคร: แพร่วิทยา.

Downloads

Published

2024-04-26

How to Cite

Suttajitto, P. C. ., Kitiwanno, P. W. ., & Suksen, P. (2024). Book Review RELIGION SOCIETY. Academic MCU Buriram Journal, 9(1), 419–431. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/268889