การพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
ความสามารถการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ, ผังกราฟิก, การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRCบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับผังกราฟิก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 (E1/E2) และ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับผังกราฟิก ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านยางขี้นก จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ชุด ชุดละ 6 ข้อ มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.30-0.53 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.47-0.70 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) หน่วยการเรียนรู้ My family ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.33-0.57 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.43-0.67 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับผังกราฟิก มีประสิทธิภาพ 82.00/83.64 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พัทรนันธฺกรณ์ สำรองพันธุ์. (2560). ผลการสอนอ่านประกอบเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พิชญาภา อินธิแสง. (2557). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ทักษะการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2551). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการการสอนแบบบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนบ้านยางขี้นก. (2565). รายงานประจำปี (SAR) ปีการศึกษา 2565). โรงเรียนบ้านยางขี้นก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1.
วริษา จันทร์ลี. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ประสานการพิมพ์.
สิริญา พรมบุตร. (2564). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทคนิคการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับการใช้ ผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ