ผลของการจัดท่าฝึกวิ่งพื้นฐาน 20 ท่าที่มีผลต่อความเร็วในนักวิ่งระยะสั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ท่าฝึกพื้นฐาน, ความเร็ว, วิ่งระยะสั้น, กรีฑาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดท่าฝึกวิ่งพื้นฐาน 20 ท่าที่มีผลต่อความเร็วในนักวิ่งระยะสั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักกรีฑา ประเภทลู่ จำนวน 20 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มที่ 1 กลุ่มทดลองได้รับการฝึกท่าวิ่งพื้นฐาน 20 ท่าก่อนเริ่มซ้อมตามปกติ กลุ่มที่ 2 กลุ่มควบคุมได้รับการฝึกแบบรูปแบบดั้งเดิม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการทดสอบความเร็วในระยะ 30, 50 และ 110 เมตร ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยการวิเคราะห์ค่า t (Dependent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีระยะเวลาที่ใช้ความเร็วในการวิ่งระยะสั้นลดลงในหลังการฝึกแตกต่างจากก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีระยะเวลาที่ใช้ความเร็วในการวิ่งระยะ 50 และ 110 เมตร ลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปได้ว่าการฝึกท่าพื้นฐาน 20 ท่า สามารถช่วยทำให้นักวิ่งระยะสั้นเพิ่มความเร็วในการวิ่งระยะสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
ธน โควสุรัตน์, ธนิดา จุลวนิชย์ และฉัตรกมล สิงห์น้อย. (2567). ผลของการใช้โปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะต่อความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชน. บูรพาเวชสาร, 11(1), 54-65.
วัชระ ยกฉิม. (2562). การสร้างแบบประเมินทักษะการวิ่งระยะสั้นสำหรับนักศึกษา สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชุมพร. วิทยานิพนธ์นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (พลศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่.
อัจฉราภรณ์ เชื้อช้าง. (2567). การศึกษาผลการใช้โปรแกรมการฝึกความเร็วเพื่อพัฒนาทักษะการวิ่งระยะสั้นของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 7(1), 54-67.
Puleo, J., & Milroy, P. (2018). Running anatomy. United State of America: Human Kinetics.
Yada, K., Ae, M., Tanigawa, S., Ito, A., Fukuda, K., & Kijima, K. (2011). Standard motion of sprint running for male elite and student sprinters. In ISBS-Conference Proceedings Archive.
Girard, O., Brocherie, F., Tomazin, K., Farooq, A. & Morin, J. B. (2016). Changes in running mechanics over 100-m, 200-m and 400-m treadmill sprints. Journal of biomechanics, 49(9), 1490-1497.
Reardon, J. (2013). Optimal pacing for running 400-and 800-m track races. American Journal of Physics, 81(6), 428-435.
Schache, A. G., Dorn, T. W., Williams, G. P., Brown, N. A. & Pandy, M. G. (2014). Lower-limb muscular strategies for increasing running speed. journal of orthopaedic & sports physical therapy, 44(10), 813-824.
Parisi, B. (2022). The Anatomy of Speed. United State of America: Human Kinetics.
Haff, G. G. & Triplett, N. T. (Eds.). (2015). Essentials of strength training and conditioning 4th edition. United State of America: Human Kinetics.
Opplert, J., & Babault, N. (2018). Acute effects of dynamic stretching on muscle flexibility and performance: an analysis of the current literature. Sports medicine, 48, 299-325.
Chaabene, H., Behm, D. G., Negra, Y., & Granacher, U. (2019). Acute effects of static stretching on muscle strength and power: an attempt to clarify previous caveats. Frontiers in physiology, 10, 489981.
Lum, D., Tan, F., Pang, J. & Barbosa, T. M. (2019). Effects of intermittent sprint and plyometric training on endurance running performance. Journal of sport and health science, 8(5), 471-477.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ