ความรุนแรงในสื่อผ่านการประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์กับช่องว่างของการรับผิดทางกฎหมาย

ผู้แต่ง

  • ณชรต อิ่มณะรัญ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รัชชา สถาพรพงษ์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ความรุนแรง, การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์, การรับผิดทางกฎหมาย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ประเด็นช่องว่างทางกฎหมาย และความไม่ชัดเจนในการใช้กฎหมายเพื่อเอาผิดกับผู้ทำการประทุษร้ายผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทุกคนอาจสร้างเนื้อหาเพื่อสื่อผ่านสังคมออนไลน์ได้ ทำให้เกิดความคลุมเครือระหว่างพื้นที่ส่วนบุคคลและพื้นที่สาธารณะในสื่อสังคมออนไลน์ และเป็นที่มาของปัญหาการประทุษร้ายผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นต่อผู้ถูกกลั่นแกล้งได้แก่ การเกิดภาวะซึมเศร้า การขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ความหวาดกลัว ไปจนถึงการทำร้ายตัวเอง   กฎหมายปัจจุบันบางส่วนได้คุ้มครองและมีบทกำหนดโทษไว้ชัดเจน เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ความผิดตามกฎหมายลักษณะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และ 423 กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทและการดูหมิ่น มาตรา 326 มาตรา 328 และ 393 แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมการกระทำผิดจากการประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์ที่มีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นภาครัฐจึงจำเป็นต้องทบทวน ปรับปรุง หรือมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการประทุษร้ายบนโลกไซเบอร์

References

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2555). มาตรการทางกฎหมาย
ในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว:
ศึกษากรณีการรบกวน สิทธิในความเป็นอยู่
ส่วนตัวจากการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคม.
วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษา
เอกชนแห่งประเทศไทย, 18(1), 39-51.
นภาวรรณ อาชาเพ็ชร. (2560). การรังแกผ่านโลก
ไซเบอร์ ความรุนแรงที่ต้องแก้ไขและ
นวัตกรรมการจัดการปัญหาวารสารวิชาการ
นวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(1), 100-106.
นิธิดา แสงสิงแก้ว. (2561). สื่อ สาร และผู้คนใน
สังคมที่เปลี่ยนแปลง. ปทุมธานี : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2544). จริยศาสตร์ตะวันตก
ค้า น ท์ มิล ล์ ฮ อ บ ส์ ร อ ล ส์ ซ า ร์ท ร์.
กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
พิจิตรา เพชรปารี. (2562). การกลั่นแกล้งบนโลก
ไซเบอร์. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2563 จาก
https://www.thaihealth.or.th.
“พฤติกรรม “บูลลี่” เด็กไทยติดอันดับ 2 ของโลก”
(2563). สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2563 จาก
https://www.bangkokbiznews.com
วนิดา แสงสารพันธุ์. (2547). หลักกฎหมายสื่อสาร
มวลชน.กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
สมภพ แจ่มจันทร์. (2561.) นักจิตวิทยาเผย Cyber
bullying นาพาสู่โรคซึมเศร้า.สืบค้น เมื่อ 24
มกราคม 2563 จาก https://www.youtu
be.com/watch?v=ClgzGl9
สิโรดม มณีแฮดและปรัชญนันท์ นิลสุข. (2562). การ
กลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์: การประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีเพื่อสกัดกั้นในโรงเรียน. วารสาร
การสื่อสารมวลชน, 7(2), 46-67.
David Trend. (2007). The myth of media
violence : a critical introduction.
Malden Massachusetts : Blackwell
Publishing.
Matthew Williams and Olivia Pearson. (2016).
Hate crime and bullying in the age of
social media. Retrieved January 20,
2020, from pdfs.semanticscholar.org.
Shaheen Shariff. (2008). Cyber bulling issues
and solution for the school the
classroom and the home. New York :
Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-08