แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน

ผู้แต่ง

  • พัฒนา พรหมณี สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา
  • ยุพิน พิทยาวัฒนชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา
  • จีระศักดิ์ ทัพผา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ การวัดระดับความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

บทความนี้เสนอความพึงพอใจที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ความพึงพอใจหมายถึง สภาวะทางอารมณ์ของบุคคลเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการตามความคาดหวัง ความพึงพอใจในงานเป็นทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานที่มีต่องานที่เขากระทำ ซึ่งแสดงออกมาเป็นความชอบหรือความไม่ชอบคุณลักษณะของงาน  ในรางวัลที่ได้รับจากการทำงาน และในสภาพแวดล้อมของการทำงาน ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ และความร่วมมือร่วมใจ ระบบงานดำเนินไปด้วยความราบรื่นเรียบร้อย มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี และภาพลักษณ์ที่น่าประทับใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ การประเมินความพึงพอใจในงานเป็นการประเมินความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม สามารถประเมินได้ด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ และการสอบถาม ที่นิยมคือใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นอย่างรอบคอบและอย่างถูกต้องเหมาะสมตามทฤษฎีของการวัดผล ประเมิน ผลและแปลผล  เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานตามความต้องการต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง
เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2539). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
บังอร ผงผ่าน. (2538). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ปภาวดี ดุลยจินดา. (2540). พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ เอกสารการสอนชุดวิชาหน่วยที่ 8-15. นทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประสาท อิศรปรีดา. (2541). ความพึงพอใจ. กรุงเทพฯ: กราฟิกอาร์ต.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : ยูไนเต็ดโปรดักชั่น.
พรนภา เตียสุทธิกุล พัฒนา พรหมณี จานนท์ ศรีเกตุ นาวิน มีนะกรรณ และสุวุฒิ พงษ์วารินศาสตร์. (2561). การวัดระดับเจตคติในการดาเนินงานด้านการสาธารณสุข. วารสาร วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 8(4): 214-225.
วิชชุดา หุ่นวิไล. (2545). เอกสารการสอนวิชามนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). การพัฒนาเครื่องมือวัดด้านเจตพิสัยและทักษะพิสัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เบอร์เน็ท.
สุชา จันทร์เอม. (2541). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุนันทา เลาหนันท์. (2551). การสร้างทีมงาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: แฮนด์เมดสติกเกอร์ แอนด์ดีไซน์.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology Comprehension Strategies and Trend). กรุงเทพฯ: เพรส แอนดดีไซน.
Davis, F. B. (1981). Education Measurement and Their Interpretation. California: Wadsworth.
Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. (3rd ed). New York: McGraw-Hill Book.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. 2nd ed. New York: Harper and Row.
Morse, M. C. (1958). Satisfaction in the White Job. Michigan: University of Michigan Press.
Wolman, T. E. (1973). Education and Organizational Leadership in Elementary Schools. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-08