ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • onnitcha Thodsata คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์
  • Kotchaporn Jaiaodton

คำสำคัญ:

ความคิดสร้างสรรค์, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์และ 2) สร้างสมการพยากรณ์โดยมีกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยแสดงว่า 1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ (Y) มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บุคลิกภาพ อารมณ์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การเข้าร่วมกิจกรรม พฤติกรรมการสอนของครู สัมพันธภาพในครอบครัว สภาพแวดล้อมทางการเรียน การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย และการสนับสนุนของผู้ปกครอง 2) ตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (X9) บุคลิกภาพ (X2) สัมพันธภาพในครอบครัว (X7) อารมณ์ (X3) การสนับสนุนของผู้ปกครอง (X10) การเข้าร่วมกิจกรรม (X5) สภาพแวดล้อมทางการเรียน(X8) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X1) พฤติกรรมการสอนของครู (X6) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (X4) ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งตัวแปรพยากรณ์ทุกตัว  สามารถอธิบายการผันแปรคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาได้ร้อยละ 89.20 จากค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R Square) = 0.892

References

คณะกรรมการวิชาการคิดสร้างสรรค์เพื่อการจัดการคุณค่า. (2555). การคิดสร้างสรรค์เพื่อการจัดการคุณค่า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริชาติ บัวเจริญ, นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุลและปวันรัตน์ บัวเจริญ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 7(1) ; มกราคม - มิถุนายน, 241 – 254.
มนัสวี ธนะปัด ,วิไลลักษณ์ ลังกา และอรอุมา เจริญสุข. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 : การวิเคราะห์เส้นทางแบบกลุ่มพหุ. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 12(1) ; เมษายน – กันยายน, 88 – 98.
ทิพวัลย์ ปัญจมะวัต. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ทิพวัลย์ สีจันทร์ และคณะ (2549).การคิดและการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏ. สวนดุสิต.
รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะการคิดนอกกรอบของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 10(2) ; กรกฎาคม- ธันวาคม, 91-106.
Daskolia, M., Dimos, A., and Kampylis, P. G. (2012). Secondary Teachers’ Conceptions of Creative Thinking within the Context of Environmental Education. International Journal of Environmental and Science Education, 7(2), 269-290.
Horng, J. S., and Lee, Y. C. (2009). What environmental factors influence creative culinary studies?. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 21(1), 100-117.
Wang, A. Y. (2007). Contexts of creative thinking: Teaching, learning, and creativity in Taiwan and the united states. Claremont Graduate University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย