ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร และการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมผู้นำ, การบริหารงาน, หลักธรรมาภิบาล, เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหาร ในสถานศึกษาเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 2) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงว่า 1) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโดยรวม อยู่ระดับดี (=4.35) โดยพฤติกรรมผู้นำที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ อยู่ในระดับดี (=4.39) 2) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับดี (=4.41) โดยหลักธรรมาภิบาลที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หลักความคุ้มค่า อยู่ในระดับดี (=4.45) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่าง 0.54-0.75 ระดับปานกลาง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระดับปานกลาง
References
จันทรา อิ่มในบุญ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี).
ทวีวัฒน์ อินทรประเสริฐ. (2559). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี).
พระมหาสุเทพ สุภาจาโร (บุญหยง). (2559). การศึกษาสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี).
พระสหพณ จือปา (2558). ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา: กรณีศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).
ไพฑูรย์ สุขผลานันท์ร. (2558). การศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี).
ราชกิจจานุเบกษา.(2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. เล่ม 116 ตอนที่ 63.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2559). การศึกษาแนวทางในการจัดตั้งหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.
Carl D. Glickman, Stephen P. Gordon, Jovita M. Ross-Gordon. (2002). Supervision and Instructional Leadership : A developmental Approach. [n.p.]
Constantino, Margaret Elizabeth. (2011). The relationship between special education teachers' perceptions of
principal leadership behaviors and the achievement of students with disabilities. (Doctor of Education). Retrieved from https://search. proquest.com/docview/916377532?accountid=168828
House, R. J. (1971). A Path Goal Theory of Leader Effectiveness. Administrative Science Quarterly, 16 (3), 321-339. Retrieved from https://www.jstor. org/stable/2391905?seq=1&cid=pdf-reference#page_scan_tab_contents
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Actives. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 608. Retrieved from https://home.kku.ac.th/ sompong/guest_speaker/KrejcieandMorgan_article.pdf
Marley, L. W. (2003). Effective Leadership Behaviors of Tow Selected High School Principals with Successful Professional-technical Programs: A case study. Idaho : Idaho State University.
Michael F. DiPaola Chriss Walther-Thomas. (2003). Principals and Special Education:The Critical Role of School Leaders. (Doctor of Education). Retrieved from http://www.personnelcenter.org/pdf/copsse_principals.pdf
Mickey, B. H. (2000). Instructional Leadership : A Vehicle For One Urban Principal to Effective Pedagogical Restructuring in a Middle School. (Doctor of Education). Retrieved from Temple University.
Runyon, R. P. & Habar, A. (1996). Fundamentals of behavioral Statistics . 8 ed. New York, NY:McGraw-Hill.
Tharpe, P. (2017). Authentic leadership behaviors contributing to job satisfaction of elementary school principals and elementary special education teachers. (Doctor of Education). Retrieved from https:// search.proquest.com/docview/1893701508?accountid=168828