ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Facebook Live ของ กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
Factors Affecting, Decision to Buy, Baby Boomersบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Facebook Live ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูเมอร์ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ด้วยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 ตัวอย่าง ผลการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับด้านการให้บริการส่วนบุคคล รองลงมา ด้านการนำเสนอบนFacebook Live ด้านราคาขายสินค้า ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านสินค้าที่ขายบน Facebook Live ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท Facebook Live ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ได้แก่ด้านสินค้าที่ขายบน Facebook Live ด้านการนำเสนอบน Facebook Live ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการให้บริการส่วนบุคคล และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยทั้ง 5 ด้านร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 88 สามารถสร้างเป็นสมการในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ ได้แก่
= 2.556 - .245 (X1) + .372(X2) - .153(X4) + .230(X5) + .118(X6) ; R2 = 0.088
สมการรูปแบบคะแนนมาตรฐานได้แก่
= - .268 (Z1) +.324(Z2) -.114(Z4)+ .174(Z5) + .102(Z6)
References
ดลวัฒน์ วงษ์จันทร,&ธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช (2562). ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของพลเมืองยุคดิจิทัล.LampangRajabhat University Journal, 8(2), 18-30.
ธัญลักษณ์ สุมนานุสรณ์. (2562). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ
กลุ่มเบบี้ บูมเมอร์. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 6(2),
175-188.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563).การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้ง ที่ 15).
กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด. น.554-555.
รายงานสถิติจังหวัดเชียงราย, (2563) สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 สืบค้นจาก
http://chiangrai.nso.go.th/
วริศรา สู้สกุลสิงห์ และวราวุธ ฤกษ์วรารักษ์ (2563) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลก. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, หน้า 99-118.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม. และไซเท็กซ์จากัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). จำนวนประชากรแยกรายอายุ พ.ศ. 2558. เรียกใช้เมื่อ 3 ธันวาคม 2563 จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php
อาทิตย์ ว่องไวตระการ, & สันติธร ภูริภักดี. (2019). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และ เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านร้านค้า ออนไลน์. จันทรเกษมสาร, ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 : มกราคม - มิถุนายน 2562
Chaffey, D., Edmundson-Bird, D., & Hemphill, T. (2019). Digital business and e-commerce management. Pearson UK.
Kardes, F. R., & Steckel, J. H. (2002). Consumer behavior and managerial decision making
(Vol. 2). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Kotler, P., Keller, K. L., Ancarani, F., & Costabile, M. (2014). Marketing management 14/e.
Pearson.
Levy, M., Weitz, B. A., & Grewal, D. (2004). Retailing management. New York: McGraw-Hill Irwin.
Mohd Satar, N. S., Dastane, O., & Ma’arif, M. Y. (2019). Customer value proposition for E-Commerce: A case study approach. International Journal of Advanced Computer Science and Applications, 10(2).
Sheth, J. (2020). Impact of Covid-19 on consumer behavior: Will the old habits return or die?. Journal of business research, 117, 280-283.
Stankevich, A. (2017). Explaining the consumer decision-making process: Critical literature review. Journal of International Business Research and Marketing, 2(6).
Venter, E. (2017). Bridging the communication gap between Generation Y and the Baby Boomer generation. International journal of Adolescence and Youth, 22(4), 497-507.
Zhong, Y., Guo, F., Wang, Z., & Tang, H. (2019). Coordination analysis of revenue sharing in E-commerce logistics service supply chain with cooperative distribution. Sage Open, 9(3), 2158244019870536.