ผลของโปรแกรมการสอนการปรับโครงสร้างและท่าทางที่ผิดปกติโดยใช้การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง

ผู้แต่ง

  • กวีวัจน์ จักสมศักดิ์
  • ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง, การปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยเทคนิคการแก้ปัญหา, โปรแกรมการสอนการปรับโครงสร้างและท่าทางที่ผิดปกติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรม และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนการปรับโครงสร้างและท่าทางที่ผิดปกติโดยใช้ทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง โดย เปรียบเทียบผลของคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างที่ได้รับโปรแกรมในระยะ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างทั่วไป จำนวนทั้งสิ้น 16 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยมีภาวะปวดหลังแบบไม่เฉพาะเจาะจง และไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่นโดยเฉพาะโรค เบาหวาน โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยได้รับการทดลองโปรแกรมการสอนการปรับโครงสร้างและท่าทางที่ผิดปกติโดยการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาจำนวน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งหมด 4 สัปดาห์ ครั้งละ 45-60 นาที โดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิต Oswestry Disability Index เป็นเครื่องมือในการวัด ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูลจัดทำโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และ One – Way ANOVA with Repeated measurement ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างหลังจากที่ได้รับโปรแกรมการสอนการปรับโครงสร้างและท่าทางที่ผิดปกติโดยใช้ทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) ชนิดศึกษากลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา (The One group Time series design) มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และพบว่าหลังการทดลองเมื่อเทียบกับระยะติดตามผล 1 เดือนและระยะติดตามผล 3 เดือนไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างในระยะติดตามผล 1 เดือนและระยะติดตามผล 3 เดือน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

References

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2536). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

------------. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

องค์การสหประชาชาติ. (2525). แผนปฏิบัติการระดับโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ. กรุงเทพมหานคร. ม.ป.ท.

องค์กรอนามัยโลก (The WHO QOL-100 AND THE WHO BREF) (2541) แบบวัดคุณภาพชีวิต วารสารกรมสุขภาพจิต เดือน กุมถาพันธ์

Chase, J. A. (1992). Outpatient of low back pain. Orthopedic Nursing.

Dubuission, w., & Eason, F. R. (1994). Nursing management of adult with degenerative, inflammatory, or autoimmune musculoskeletal disorder. In P. G. Beare & J. L. Myers (Eds) Adult health nursing. St. Louis: Mosby

Fairbank, J.C. (1980). The Oswestry Low Back Pain disability questionnaire. Physicaltherapy

Ferrans C. E. & Power, M. J. (1992). Psychometric assessment of the quality of life in11dex. Research in Nursing & Health.

LeMone, P.,& Burke, K. M. (2000 ). Medical- surgical nursing: Critical Thinking in client care (2 nd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Ruda, S.C. (1992). Nursing role in mamagement musculoskeletal problem. In S. M. Lewis & I. C. Collier (Eds), Medical-Surgical nursing; Assessment and management of clinical problem. St. Louis: Mosby Year Book.

Saunders, H. D. (1992). Self-help manual of your back. Minneapolis: A Saunders Group

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย