การศึกษาความพึงพอใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • รนิภา หงษ์โม่ Dhurakij Pundit University
  • มณฑกานติ ชุบชูวงศ์

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยววิถีปกติใหม่, ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว, ความภักดีในจุดหมายปลายทาง, องค์ประกอบการท่องเที่ยว, จังหวัดภูเก็ต

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ที่มีต่อความภักดีในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตอย่างน้อย 1 คืน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์หาค่าการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ในจังหวัดภูเก็ตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.18) จากการทดสอบสมมุติฐานหาค่าการถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ความพึงพอใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่สามารถร่วมพยากรณ์กับความภักดีในจุดหมายปลายทางได้ร้อยละ 56.5 (Adjust  = 0.565) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยความพึงพอใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ด้าน สถานที่พัก ด้านความเชื่อมั่น ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการรับรู้ (Beta =-.380, .251, .245, -.177, .133) มีอิทธิพลต่อความภักดีในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กนกพร กิ่งเหตุ และจันทร์เพ็ญ วรรณารัก. (2565). ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อสถานที่ท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ ภายใต้สถานการณ์โควิด ๑๙. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 9(2), 260-273

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). โครงการเราเที่ยวกันเฟส 4 ส่วนขยาย.

https://www.xn--12c1bik6bbd8ab6hd1b5jc6jta.com/information

จรินทร์ ฟักประไพ และณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2564). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเยือนสวนสัตว์ขอนแก่น. ว.มทรส. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 50-63.

ชญาณิศา วงษ์พันธุ์. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 14(1), 65-78.

ตุ๊กตา ใสมณี และชาตยา นิลพลับ. (2562). ภาพลกษณ์การท่องเที่ยวและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.วารสาร มทร. อีสาน. 10(1), 126-141.

ประเสริฐ ใจสม, ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, ปฏิญญา บุญผดุง และ เอื้อมอัมพร ทิพยทิฆัมพร. (2563). บุพปัจจัยของความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเมืองรอง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 8(1), 133-144.

พัชรียา แก้วชู. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ “New normal” หลังการแพร่ระบาดโควิด 19. (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วันทิกา หิรัญเทศ. (2565). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อระดับปัญหาของการท่องเที่ยวในชุมชนตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ตามองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว 6As. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 8(2), 66-81

ศุภัตรา ฮวบเจริญ และนันทินี ทองอร. (2565). แนวทางการสร้างความเชื่อมั่นต่อการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤติโรคระบาด. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 17(1), 46-59.

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ. (2564). สื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย. วารสารวิชาการ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 5(1), 37-56.

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ และอริยา พงษ์พานิช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเดินทางท่องเที่ยวแบบปกติใหม่. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และงสังคมศาสตร์, 4(1), 12-24

อัจฉราพรรณ ตั้งจาตุรโสภณ, บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, และธนวรรณ แสงสุวรรณ. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างความจงรักภักดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อจุดหมายปลายทาง ในการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย. 14(2), 174-188.

อับบ๊าส พาลีเขตต์. (2565). คุณภาพการบริการและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้มาใช้บริการที่พักในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน, 24(2), 125-136

Carlsson-Szlezak P., Reeves, M., Swartz, P., (2020). What Coronavirus Could Mean for the Global Economy. Harvard Business Review., 2-10.

Ebrahim, A.H., Saif, Z.Q., Buheeji, M., Albasri, N., Al-Husaini, F.A., & Jahrami, H. (2020). COVID-19 Information-Seeking Behavior and Anxiety Symptoms among Parents. OSP Journal of Health Care and Medicine, 1(1), 1-9

Morrison, A.M. (2019). Marketing and Managing Tourism Destinations. 2nded. New York: Routledge.

Pelasol, M., Tayoba, M., Mondero, E., Jugado, K., & Lahaylahay, C. (2012). Igcabugao: A Potential Tourist Destination in the Southern Part of Iloilo, Philippines. JPAIR Multidisciplinary Research, 8(1), 90-97.

Saayman, M., Li, G., Uysal, M., & Song, H. (2018).Tourist satisfaction and subjective well-being: An index approach. International Journal of Tourism Research. 20(3), 388-399.

Santana, L. D., & Gosling, M. D. S. (2018). Dimensions of image: A model of destination image formation. Tourism Analysis, 23(3), 303-322.

Tan, W. K. (2017). The relationship between smartphone usage, tourist experience and trip satisfaction in the context of a nature-based destination. Telematics and Informatics Journal, 34(2), 614–627

World Health Organization. (2021). Coronavirus disease (COVID-19) pandemic. Retrieved August 19, 2021. From https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019?

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29