การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารตามการประเมินของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน , ผู้บริหารสถานศึกษา , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา , มัธยมศึกษาฉะเชิงเทราบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารตามการประเมินของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ฉะเชิงเทรา จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาแสดงว่า การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารตามการประเมินของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ ผลการเปรียบเทียบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารตามการประเมินของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานระบบดูแลช่วยเหลือของครู โดยภาพรวมพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ
ที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กรมสุขภาพจิต. (2544). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : ยูเรนัสอิม เมลกรุ๊ป.
. (2546). คู่มือการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วงชั้นที่ 3–4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
จีราพัชร เดชวิชิต. (2554). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในจังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย์ลงกรณ์).
ณัฎฐกานต์ ญาติ, และวรชัย วิภูอุปรโคตร (2563). แนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2”. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 26(1), 29-36.
เพ็ญศรี นิตยา. (2551). สภาพและปัญหาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาขอนแก่น เขต 4 .(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).
เรืองยศ ครองตรี. (2551). การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย.
(ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).
วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2564).การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์.13(3), 320-332.
วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีม 9(3), 14-27.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้วิกฤตสังคม. กรุงเทพมหานคร. ชวนทิพย์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. คณะรัฐมนตรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปี 2566. ข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา
อุษา ชูชาติ และลัดดา อินทร์พิมพ์. (2558). มุมมองด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา). วารสารวิจัยการศึกษา. 3(6), 1-7.
Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. (2012). DeterminingSample Size For Research Activities. Phychological Measurement. 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ธนิดา ดวงคีรี, วรชัย วิภูอุปรโคตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.