การสื่อสารเพื่อการรณรงค์การเข้าสู่ระบบผู้ประกันตนอิสระของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • ขวัญใจ ชีวรัฐพัฒน์
  • วิทยาธร ท่อแก้ว
  • สุภาภรณ์ ศรีดี

คำสำคัญ:

การสื่อสารเพื่อการรณรงค์ , การเข้าสู่ระบบผู้ประกันตนอิสระ , สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสตูล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการรณรงค์การเข้าสู่ระบบผู้ประกันตนอิสระของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสตูล เกี่ยวกับนโยบายและกระบวนการสื่อสาร การกำหนดกลยุทธ์การสื่อสาร และ แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงรวมจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า ด้านนโยบายการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ มี 3 ระดับ คือ ระดับกระทรวงแรงงาน ระดับสำนักงานประกันสังคม และระดับสำนักงานประกันสังคมจังหวัด ด้านการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการรณรงค์ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดร่วมกันกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารกับหัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ ในสำนักงานประกันสังคม ด้านแนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ สำนักงานจะต้องจัดทำสื่อเพื่อให้เข้าถึงผู้ประกันตนประเภทนี้ที่หลากหลาย ทั้งสื่อออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ เอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รายการวิทยุกระจายเสียงและหน่วยสื่อสารเคลื่อนที่

References

กระทรวงแรงาน. (2561). สถานการณ์และการเตือนภัยด้านแรงงานปี 2560. (20 กุมภาพันธ์ 2563). สืบค้น จาก http://warning.mol.go.th/article/review.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). องค์ประกอบที่สำคัญของเครือข่าย. สืบค้นจาก http://sta.payap.ac.th/network/lkik2.htm

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2548). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นครปฐม

ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2551). การสื่อสารประเด็นสาธารณะและการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พัชนี เชยจรรยา. (2542). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์ .กรุงเทพมหานคร บริษัท เยลโล่การพิมพ์ (1988) จํากัด

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ . (2544). รายงานทีดีอาร์ไอ โครงข่ายความคุ้มครองทางสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศ. สถาบันวิจัย, กรุงเทพมหานคร

วิทยาธร ท่อแก้ว. (2549). “ภาพลักษณ์ทางการเมือง” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสาร ทางการเมือง หน่วยที่ 8 หน้า 4 – 38. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชารัฐศาสตร์

สุชาติ เปรมสุริยา. (2544). ปัจจัยทีมีผลต่อการตัดสินใจประกันตนของผู้ประกอบอาชีพขับรถแท๊กซีในการสมัครเป็นผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 40. (วิทยานิพนธ์ พัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. (2554). การสาธารณสุขไทย 2551-2553. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.

เสนีย์ แดงวัง. (2525). การประชาสัมพันธ์แนวความคิดและหลักวิธีการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต.

สำนักงานประกันสังคม. (2561). แผนปฏิบัติราชการสำนักงานประกันสังคม ระยะ3ปี (2563-2565).นนทบุรี สำนักงานประกันสังคม.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30