การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขตพื้นที่บางขุนนนท์

ผู้แต่ง

  • พงศ์พีรพิชญ์ วิวัฒนวานิช
  • เฉลิมพร เย็นเยือก Rangsit University

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, แรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  2) ระดับการมีส่วนร่วมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการมีส่วนร่วมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่บางขุนนนท์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่บางขุนนนท์ จำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาคือ ค่าจำนวน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติอนุมาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  

ผลการศึกษาพบว่า ระดับแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย 4.09 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.497) ส่วนระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.10 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.636) โดยการมีส่วนร่วมด้านการร่วมตัดสินใจมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง  โดยความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรตระหนักและศึกษาถึงความต้องการของประชาชนในชุมชนถึงเพื่อนำมาประยุกต์ในการเสริมสร้างกิจกรรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนมีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเอง และ เป็นที่พี่งพาให้กับชุมชนอื่นได้

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2566). พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550. https://www.disaster.go.th/about/background

จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย. (2559). อุปสรรคและปัญหาของการมีส่วนร่วมในสังคมไทย. https://mgronline.com/south/detail/9590000114671

ติกขเวทย์ ก้อนแก้ว. (2562). ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อน ค่านิยม EP SPIRIT ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ถวิลวดีบุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วมแนวคิดทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปก เกล้า.

ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2560). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง. พิมพ์ครั้งที่ 6, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันฉัตร สุวรรณกิตติ. (2563). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และการปฏิรูปประเทศ. https://planning.tu.ac.th/uploads/planning/pdf/plan/plan20.pdf

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 183-197.

สมยศ นาวีการ. (2554). ทฤษฎีองค์การ. บรรณกิจ 1991.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิดคู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

Arnold, H.J., & D.C. Feldman. (1986). Organizational Behavior. Singapore: McGraw-Hill Inc.

Cohen, J. & Uphoff, D. (1980). Participation’s in Rural development seeking Clarity Through Specficty. World Development, 8 (3), 213-218.

Cohen, J. & Uphoff, D. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. Cornell University Press.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper Collins Publishers.

Davis, L. E. (1977). Enhancing the Quality of Working Life: Developments in the United States. International Labour Review, 116(1), 53-65.

Dubrin, A.T. (1981). Human Relation : A Job Oriented Approach. RestonPublishing.

Fornaroff, A. (1980). Community Involvement in Health System for Primary Health Care. World Health Organization.

Hackman, R.J., & Suttle, L.J. (1977). Improving Life at Work: Behavioral Science Approach to Organi-zational Change. Santa Monica, Goodyear Publishing

Herzberg, F. (1990). The Motivation to Work. 2nd ed. John Wiley and Sons.

Huse, E. F. & Cummings, T.G. (1985). Organization Development and Change. West Publishing.

Mondy, R.W., & R.M. Noe. (1996). Human Resource Management. Prentice-Hall Inc.

Putti, J. M. (1987). Management: A Functional Approach. McGraw-Hill.

Schermerhorn, J.R., Hunt, J.G. & Osborn, R.N. (1991). Managing. Organizational Behavior (4 th ed.). John Willey and Sons.

Swansburg, R. C. (1996). Management and Leadership for nurse Managers. Jones and Barticn.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25